ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2015

วิธีการแก้ไข Add-ins SolidWorks 2014 - 2015 ไม่ทำงาน บน Windows 10

        สะหวักลีฮับ  !! ตองนี้ ล่ายมีปังหาโปแกมไม่โชว์แอ๊กอิง  ที่ล่ายติกตั้งไว้  อั๊วเลยนำวิธีกังมาบอกอ่า !!  ( ตอนนี้ ท่านผู้นำสูงสุดของไทย ได้สยบแทบเท้าจีน ผมจึงต้องกล่าวนำแบบจีนๆกันนะครับ )        ปัญหามีอยู่ว่า   เมื่อติดตั้ง SolidWorks 2014 หรือ 2015 บน Windows 10 ลงไปนั้น  Add-ins ที่แสดงเมื่อต้องการเรียกใช้งาน กลับไม่มี   ดังภาพ   ทั้งๆที่ได้ติดตั้งแล้ว ในครั้งแรก วิธีการเรียก Add ins กลับมา ทำได้ไม่ยากครับ   ก่อนอื่น ให้เรากำหนด User เป็น Administrator ก่อนครับ ( อาจจะเปิด User ที่ Disable อยู่ก็ได้ครับ )  จากนั้น  ให้กดปุ่ม Windows + R  เพื่อเปิด Run Command  แล้วเข้า Regedit  แล้ว เข้ามาที่ H_L_M\Software\Policies\Microsoft\Windows\Installer ในขั้นตอนนี้ หากไม่มี Key ที่ชื่อ Installer ให้สร้าง Key ชื่อนี้ขึ้นมาเอง จากนั้น ให้เพิ่ม Dword 32 bit ที่ชื่อว่า RemappedElevatedProxiesPolicy จากนั้น ให้หำหนดค่า เป็น 1 เมื่อทำเสร็จ ให้ Log off  และ Repair SolidWorks ใหม่ 1 รอบ   เพียงเท่านี้  Add - ins ที่หายไป ก็จะกลับมาทำงานได้อย่างถูกต้องต

การออกแบบ Cyclone ประสิทธิภาพสูง และการนำมาประยุกต์ใช้งาน

การออกแบบไซโคลนเพื่อแยกอนุภาค สามารถรับชมได้จาก 

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ

หลักการในการออกแบบ Silo

หลักการในการออกแบบ Silo      ขึ้นหัวข้อไว้นานแล้ว เพราะอยากจะเขียนแต่หาเวลามาเขียนไม่ได้ ที่จริงเวลามีแต่ดันเอาไปทำเรื่องไม่เป้นเรื่อง งั้นเรามาเริ่มเลย ผมก็ไม่ได้เก่งอะไรหรอกนะครับ แค่คนไร้การศึกษาคนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น หากท่านผุ้อ่านมีคำชี้แนะ ก็สามารถคอมเมนท์ได้เต้มที่ จะด่าก็ได้ครับ     เรามารู้จักหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไซโลกันก่อนครับ ผมเอาพอเท่าที่นึกทึกทักเอาได้นะครับ อย่าคิดว่ามันเป็นบทควายทางวิชาการ เพราะผมมันคนไร้การศึกษา เอาไปอ้างอิงอะไรไม่ได้ครับ อ่านเพื่อให้เสียเวลาชีวิตเล่นๆเท่านั้นก็พอครับ 0. ว่าด้วยไซโล 1. ที่มาของการมีไซโล 2.ขั้นตอนในการออกแบบไซโล 3.คุณสมบัติของวัสดุที่จะบรรจุในไซโล 4.การออกแบบการไหลภายในไซโล 5.การคำนวณแรงดันของไซโล 6.การออกแบบอุปกรณ์ช่วยทำให้วัสดุไหลในไซโลได้ดีขึ้น 0.หากยกมาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้และการศึกษาสูงสุดของชาติไทยแลนด์ บอกไว้ว่า " สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ภายในมีระบบกันชื้นและระบายอากาศ สำหรับเก็บผลผลิตการเกษตรไว้ชั่วคราวก่อนส่งออก " ผมคนไร้การศึ