ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

ตัวอย่าง ขั้นตอนการออกแบบมอเตอร์ไซค์

นั่งดูสารคดีการออกแบบ MV Augusta F3 ของอิตาลี เลยเกิดแรงบันดาลใจ เผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่คิดจะออกแบบมอเตอร์ไซค์ ผมเลยทำวีดีโอที่ชื่อว่า Super4 Series - Honda CB400SF  มีทั้งสิ้น 9 ตอน     ใช้พิมพ์เขียวที่หาได้จากอินเตอร์เน็ท มีหลายตอน สามารถทำตามได้ และหากชำนาญ ผมเชื่อว่าทุกท่านคงจะออกแบบมอเตอร์ไซค์ได้ตามที่ต้องการ   Part 1 Part 2 Part 3 Part 4 Part 5 Part 6 Part 7 Part 8 Part 9      การเก็บรายละเอียดงานเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ เช่นพวกครีบระบายความร้อน หรือรายละเอียดต่างๆ รอยหยักต่างๆ สติ๊กเกอร์ หรือลายยาง เป็นต้น  หวังว่าทุกท่านคงได้รับความรู้ไปไม่มากก็น้อยตามกำลังความสามารถครับ หวังว่าทุกท่านคงจะมีความสุขกับการออกแบบในสิ่งที่รักกันทุกท่านครับ 

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 4

ตอนที่ 4 ว่าด้วยเรื่องวัสดุ และพฤติกรรมเฉพาะของวัสดุที่จะทำการขนถ่าย เรียกเป็นภาษาบริเตนใหญ่ว่า Material Characteristics การออกแบบสายพานลำเลียงที่สมบูรณ์แบบจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆของวัสดุที่ทำการขนถ่ายด้วย เช่น 1.Internal Friction 2. Cohesive strength 3.Adhesive strength 4.Flowability 5.Angle of repose 6.Interface friction 7.Surcharge angle 8.Particle size 9.Bulk density **ค่าต่างๆ 3 ค่าในข้อ 1 - 3 นั้น สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก CEMA 550 หรือ ASTM D6128-06 หรือ ASTM D6773-08 ** คุณสมบัติวัสดุเมื่อเคลื่อนที่บนสายพานลำเลียง วัสดุต่างๆเมื่อถูกเทรวมกันมากๆบนพื้นราบเรียบที่อยู่นิ่งก็จะเกิดเป็นกอง และมีมุมกองอยู่ค่าหนึ่ง ซึ่งค่าองศามุมกองนี้จะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุต่างๆ มุมกองนี้เราเรียกว่า Repose angle รูปแสดง Angle of repose แต่ถ้านำวัสดุเดียวกันมาเทกองลงบนพื้นสายพานลำเลียงที่มีการเคลื่อนที่ ก็จะเกิดมุมกองที่มีองศาเปลี่ยนไป มุมกองที่มีองศาเปลี่ยนแปลงไปนี้เราเรียกว่า Angle of Surcharge ซึ่งค่านี้จะน้อยกว่า Repose angle ประมาณ 10 - 15 องศา รูปแสดง Ang

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 3

ตอนที่ 3 ว่าด้วยส่วนประกอบต่างๆของสายพานลำเลียง เราจะเริ่มกันที่โครงสร้างก่อนเลยครับ 1.โครงสร้างหรือ Stringer แบ่งได้หลายประเภท เช่น โครงถัก / ท่อกลม / เหล็กหน้าตัดสำเร็จรูปพวกเหล็กรางน้ำ เหล็กบีมต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนความต้องการในการขนถ่าย และใช้มาตรฐานที่เกี่ยวของมาคำนวณการรับน้ำหนัก เช่น นำ มาตรฐาน ACI 318 มาคำนวณเรื่องงานฐานรากรองรับสายพานลำเลียง นำมาตรฐาน AISC,"Detailing for Steel Construction "/"Manual Of Steel Construction " ( ASD / LRFD ) มาออกแบบทำแบบเพื่อการผลิต นำมาตรฐาน AWS D1.1 มาออกแบบงานเชื่อม นำมาตรฐาน OSHA มาออกแบบทางเดิน - บันได - ราวจับ เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละประเทศก็มีมาตรฐานการออกแบบที่ใช้อยู่ เช่น แคนาดา จะมี มาตรฐาน ( Code ) CSA  เม็กซิโก มี Code MOC อเมริกามี Code A___ ทั้งหลายแหล่ ส่วนไท เราก็มี TIS (ที่ตำรวยไล่ตามจับ เพื่อแจกใบสั่ง เพราะท่อไอเสียที่มาจากโรงงาน ก็ผิดในสายตาตำรวยไท ( ที่ผมเรียกไท เพราะสมัยก่อน มีการเปลี่ยนชื่อจากสยามเป็นไท ก็มีการถกเถียงกันในสภาผู้แทนราษฎร ว่า จะเปลี่ยนจากสยาม มาเป็น ไท หรือ ไทย

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 2

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เสนอตอนที่ 2 ครับ     สำหรับตอนที่ 1 เราค้างกันไว้ที่ CEMA ( Conveyor Equipment Manufacturers Association ) ซึ่งก็คือกลุ่มความร่วมมือกันของเหล่าผู้ผลิตคิดค้นอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสายพานลำเลียงนั่นเอง ทำไมต้อง Belt Conveyor ? การลำเลียงวัตถุด้วยสายพานลำเลียงนั้น มีประโยชน์กว่าการขนส่งแบบอื่นๆดังเช่น ( ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วยนะครับ ) 1.ขนได้หลากหลายวัสดุ หลากหลายขนาด ตั้งแต่ทรายเม็ดเล็กๆจนถึงก้อนหินหรือก้อนแร่ขนาดใหญ่ๆ 2.สามารถออกแบบให้รองรับขนาดความต้องการ ( Capacities ) ได้หลากหลาย เพราะขึ้นอยู่กับหน้ากว้างและความเร็ว โดยปกติ ตั้งแต่ 1 ตัน/ชม. จนถึง 44000 ตัน/ชม. เป็นต้น 3.สามารถปรับทิศทางของการขนถ่ายได้ตามรูปแบบของพื้นผิวภูมิศาสตร์ 4.มีความน่าเชื่อถือในการขนถ่ายสูงกว่าการขนถ่ายแบบอื่น เช่น การขนถ่ายด้วยรถบรรทุก มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ 5.ออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย 6.มีความปลอดภัย 7.ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการขนถ่ายแบบอื่น 8.ใช้พลังงานต่อหน่วยการขนถ่ายน้อย 9.ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำ     มาตรฐานของค

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 1

   สวัสดีครับ ในวันนี้ จะขอนำประสบการณ์ของตนเองในงานระบบสายพานลำเลียงมาเขียนให้ท่านผู้อ่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ     สมัยผู้เขียนทำงานเป็นทางการที่แรก ตอนที่สำเร็จการศึกษาใหม่ๆ ก็อยู่ที่ บ.เอกชนแห่งหนึ่ง ที่ทำเกี่ยวกับออกแบบและสร้างระบบลำเลียง มีมากมายหลายประเภท ตอนนั้นก็จะเป็นระบบ Roller ขนกล่อง แบบสายพาน Modular คล้ายๆ Lego มาต่อๆกัน สายพานลำเลียงอาหารแบบต่าง สายพานทอดกุ้ง สายพานในร้านอาหารญี่ปุ่นพวก ชาบูชิ เป็นต้น    ผู้เขียนทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา 1 ปี ก็พอจะสรุปงานประเภทต่างๆได้ทั้งหมดและขีดความสามารถของแต่ละประเภท  ที่ทำงานที่แรกนี้เจ้าของกิจการเป็นศิษเก่า MHT พระนครเหนือ รุ่นแรกๆ วันหนึ่งเมื่อเห็นว่าถึงจุดหนึ่ง ผู้เขียนก็ลาออกจากที่นี่และใช้ชีวิตไปทำงาน ณ บริษัทต่างๆอีกหลายบริษัท กว่าจะมาเปิดกิจการของตนเอง และสละเวลาส่วยตัวมาเขียนบล๊อคแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ท่านได้อ่านกันนี้   เกริ่นมาซะยาวยืด !! มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ระบบขนถ่ายแต่เดิมในไทยนั้น ถูกปกครองด้วยเหล่าคณะ MHT จากสถาบันต่างๆจากชั้นนำในไทย ผู้เขียนมิได้สำเร็จจากสถาบันชั้นนำ เลยต้องหาความรู้เองมากหน่อย