ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 2

สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้เสนอตอนที่ 2 ครับ
    สำหรับตอนที่ 1 เราค้างกันไว้ที่ CEMA ( Conveyor Equipment Manufacturers Association ) ซึ่งก็คือกลุ่มความร่วมมือกันของเหล่าผู้ผลิตคิดค้นอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับระบบสายพานลำเลียงนั่นเอง


ทำไมต้อง Belt Conveyor ?
การลำเลียงวัตถุด้วยสายพานลำเลียงนั้น มีประโยชน์กว่าการขนส่งแบบอื่นๆดังเช่น ( ทั้งนี้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการออกแบบที่ดีด้วยนะครับ )
1.ขนได้หลากหลายวัสดุ หลากหลายขนาด ตั้งแต่ทรายเม็ดเล็กๆจนถึงก้อนหินหรือก้อนแร่ขนาดใหญ่ๆ
2.สามารถออกแบบให้รองรับขนาดความต้องการ ( Capacities ) ได้หลากหลาย เพราะขึ้นอยู่กับหน้ากว้างและความเร็ว โดยปกติ ตั้งแต่ 1 ตัน/ชม. จนถึง 44000 ตัน/ชม. เป็นต้น
3.สามารถปรับทิศทางของการขนถ่ายได้ตามรูปแบบของพื้นผิวภูมิศาสตร์
4.มีความน่าเชื่อถือในการขนถ่ายสูงกว่าการขนถ่ายแบบอื่น เช่น การขนถ่ายด้วยรถบรรทุก มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้
5.ออกแบบให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย
6.มีความปลอดภัย
7.ค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการขนถ่ายแบบอื่น
8.ใช้พลังงานต่อหน่วยการขนถ่ายน้อย
9.ค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาต่ำ

    มาตรฐานของความร่วมมือกันของกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ขนถ่ายนี้ มีมาตรฐานสูงมาก และมีความลึกซึ้ง แสดงถึงความจริงจังของการตั้งใจให้งานออกมาดี ปลอดจากการคอรัปชั่น ไม่เหมือนในประเทศไทย ที่จะทำอะไรก็คอรัปชั่นกันหมด จงใจใช้อำนาจหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนกันทุกหมู่เหล่า จากนั้นก็นำนกหวีดมาแขวนคน ร่วมกันเป่าเพื่อแสดงตนเป็นคนดี และบอกกับผู้อื่นว่าจะ ปฏิภาพประเทศ

   ลักษณะของสายพานลำเลียงโดยทั่วไปนั้น ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆซึ่งมีชื่อเรียกดังนี้
ไล่ตั้งแต่
1.Tail Pulley หรือ ลูกกลิ้งท้าย  ทำหน้าที่กลับทิศทางสายพาน และรองรับการเคลื่อนที่ของสายพาน ตลอดจนรักษาแรงตึงของสายพานให้เพียงพอต่อการทำงาน
2.Feed Chute and Skirts ทำหน้าที่รองรับวัสดุที่ตกลงบนสายพานเพื่อเตรียมการขนถ่าย ป้องกันมิให้วัสดุหลุดออกจากสายพานลำเลียง
3.Idler คือชุดของลูกกลิ้งลำเลียง อาจจะเป็นลูกเดี่ยวๆ , สามลูก , หรือ 5 ลูก ก็ได้ อยู่ที่ว่าผู้ออกแบบจะออกแบบมาแบบไหน  เจ้าชุดนี้ทำหน้าที่รองรับสายพานที่กำลังขนถ่ายวัสดุ

4.Head Pulley and Drive ทำหน้าที่ขับเคลื่อนสายพานลำเลียง ตามสเป็คความเร็วที่ได้ออกแบบมา
5.Return Idler ทำหน้าที่รองรับสายพานขากลับ ( สายพานเปล่า ) 
6.Stringer หรือ โครงรางคอนเวย์ เป็นโครงสร้างรองรับอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องประกอบกันขึ้นมาเป็นสายพานลำเลียง


หลักๆก็มีแค่นี้ ส่วนอุปกรณ์เพิ่มเติมนั้น มีอีกมากมาย ทั้งนี้จะทะยอยนำมาเขียนให้ท่านทั้งหลายได้อ่านกันในลำดับต่อไป 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...