ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

ว่าด้วยเรื่องของการออกแบบท่อไอเสียของเครื่องยนต์

  หลายๆท่านคงจะเคยได้ยินเสียงท่อไอเสียรถยนต์และจักรยานยนต์ที่ดังหนวกหูกันมาบ้างแล้ว  นึกสงสัยกันไหมครับว่า ทำไมท่อไอเสียถึงได้ดังรบกวนประชาชนผู้พักอาศัยที่มีบ้านเรือนอยู่ริมถนน   หากเปิดอ่านประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 2629 พ.ศ. 2543 แล้ว จะพบว่า หัวข้อ 5.2 " ระดับเสียงสูงสุดที่ออกจากท่อไอเสียที่ประกอบเข้ากับรถจักรยานยนต์ที่จะใช้ประกอบในสภาพใช้งานปกติ ในขณะที่ยานพาหนะอยู่กับที่ ต้องไม่เกิน 95 เดซิเบล เอ " ผมจึงมาสรุปเรื่องราวของท่อไอเสียในส่วนของการออกแบบทางวิศวกรรมให้ผู้อ่านได้อ่านกันเล่นๆ   A Graham Bell ได้ทดสอบและเขียนหนังสือชื่อ 4 Stroke Performance Tuning ในหนังสือเป็นข้อมูลศึกษาเชิงวิชาการที่น่าสนใจมาก หนึ่งในบทของหนังสือที่ขอหยิบมาในประเด็นนี้ก็คือ " The Exhaust System " คือว่ากันด้วยเรื่องของไอเสียทั้งระบบ     เมื่อวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์เปิดออก จะเกิดแรงดันในท่อไอเสียประมาณ 20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เนื่องจากการไหลออกมาจากห้องเผาไหม้ของก๊าซ ในทางกลับกัน หากแรงดันในท่อไอเสียมีค่าเป็นลบ ( หมายความว่ามีการไหลกลับเข้าห้องเผาไหม้ หรือไอเสียไหลไม่สะดวกทำให้

วิธีการสอบ กว.ให้ผ่านในรอบเดียว

วิธีการสอบ กว.ให้ผ่านในรอบเดียว    สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน ทุกวันนี้กระผมสละเวลาบางส่วนมาถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้ที่มีจากการศึกษา รวมถึงการทำงาน เพื่อถ่ายทอดให้กับผู้อื่น เท่าที่พอจะทำได้ เพื่อหวังจะสร้างสังคมที่น่าอยู่  วันนี้จะมาแนะนำการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือ กว.     เป้าหมายของการสอบคือ ใบ กว. แต่หนทางการได้มานั้นไม่ง่ายนัก เพราะต้องผ่าน 3 ด่าน ที่ค่อนข้างจะยากหากไม่มีความเข้าใจจริง     ตอนที่ผมยังไม่มีใบ กว.นั้น ผมก็คิดเข้าข้างตนเองเอาเสมอว่า ทำแบบนี้ก็คงจะได้ หรือแบบโน้นก็คงไม่มีปัญหา เพราะไอ้หมอนั่นมันก็ไม่มี กว.เหมือนกันกับเรานั่นแหละ แต่ความคิดผมมาเปลี่ยนไปเมื่อได้อบรมจรรยาบรรณ ( ด่านที่ 3 ) ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาดูวิธีการผ่านด่านแรกกันก่อนครับ ด่านแรก กล้วยๆ มีข้อสอบเก่าอยู่แล้ว  4  วิชาพื้นฐาน แต่หัวผมจำอย่างไรก็ไม่หมด เพราะ 4 วิชา วิชาละ 400 ข้อ รวมแล้วทั้งสิ้น 1600 ข้อ  คิดว่าถ้าจำอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะว่ามันเยอะ  ฉะนั้น ต้องมีความรู้ในการทำข้อสอบ เราจะได้ไม่ต้องจำ และจะได้นำสมองไปจำส่วนของทฤษฏีแทน ความรู้ที่ต้องมีก็คือ 1.การแก