ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีการสอบ กว.ให้ผ่านในรอบเดียว

วิธีการสอบ กว.ให้ผ่านในรอบเดียว 
  สวัสดีครับ ผู้อ่านทุกท่าน ทุกวันนี้กระผมสละเวลาบางส่วนมาถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้ที่มีจากการศึกษา รวมถึงการทำงาน เพื่อถ่ายทอดให้กับผู้อื่น เท่าที่พอจะทำได้ เพื่อหวังจะสร้างสังคมที่น่าอยู่  วันนี้จะมาแนะนำการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม หรือ กว. 
   เป้าหมายของการสอบคือ ใบ กว. แต่หนทางการได้มานั้นไม่ง่ายนัก เพราะต้องผ่าน 3 ด่าน ที่ค่อนข้างจะยากหากไม่มีความเข้าใจจริง 
   ตอนที่ผมยังไม่มีใบ กว.นั้น ผมก็คิดเข้าข้างตนเองเอาเสมอว่า ทำแบบนี้ก็คงจะได้ หรือแบบโน้นก็คงไม่มีปัญหา เพราะไอ้หมอนั่นมันก็ไม่มี กว.เหมือนกันกับเรานั่นแหละ แต่ความคิดผมมาเปลี่ยนไปเมื่อได้อบรมจรรยาบรรณ ( ด่านที่ 3 ) ก่อนจะไปถึงตรงนั้น เรามาดูวิธีการผ่านด่านแรกกันก่อนครับ

ด่านแรก กล้วยๆ
มีข้อสอบเก่าอยู่แล้ว  4  วิชาพื้นฐาน แต่หัวผมจำอย่างไรก็ไม่หมด เพราะ 4 วิชา วิชาละ 400 ข้อ รวมแล้วทั้งสิ้น 1600 ข้อ  คิดว่าถ้าจำอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะว่ามันเยอะ  ฉะนั้น ต้องมีความรู้ในการทำข้อสอบ เราจะได้ไม่ต้องจำ และจะได้นำสมองไปจำส่วนของทฤษฏีแทน
ความรู้ที่ต้องมีก็คือ
1.การแก้โจทย์วิชา Static หลักการคือ กฎ 3 ข้อของนิวตัน ต้องฝึกทำให้คล่อง
2.วิชาเขียนแบบวิศวกรรม อันนี้ไม่ต้องจำ เพราะไม่ยาก ฝึกมองภาพ ฝึกพลิกภาพเพื่อหารูปด้าน ทำความรู้จักเกี่ยวกับมุมมองและชื่อเรียกต่างๆ คาดว่าวิชานี้ทุกคนได้เต็มแน่ๆ
3.วิชาวิศวกรรมวัสดุ อันนี้ค่อนข้างต้องใช้ความจำ เกี่ยวกับกระบวนการต่างๆทางโลหะวิทยา และต้องเข้าใจแผนภูมิต่างๆ รวมถึงชื่อเรียก ต้องคำนวณปริมาณสารได้จากแผนภาพที่กำหนด 
4.วิชาคอมพิวเตอร์  วิชานี้ไม่ยากในส่วนฮาร์ดแวร์ แต่จะยากหน่อยตรงการโปรแกรม เพราะต้องมีความรู้ภาษาซี ( เชื่อว่าเรียนผ่านมาทุกคน ) พวก Printf , Scanf  #include การวนลูป การแสดงผล การคำนวณค่าง่ายๆจากโปรแกรมที่กำหนด  เชื่อว่าหากมีเวลาทบทวนก่อนการสอบจะทำได้แน่นอน

4 วิชาข้างต้นนี้จะสอบในช่วงเช้า ทั้งหมดมี 100 คะแนน 100 ข้อ  วิธีการคือ อย่าไปสนใจกับข้อใดข้อหนึ่ง ให้ทำข้อที่จำได้ก่อนในรอบแรก และมากดทำใหม่ในรอบที่ 2 ที่เป็นข้อที่ต้องคำนวณ ที่เรามาร์คไว้ในรอบแรกว่าเราจะกลับมาทำ   เมื่อหมด 2 รอบนี้ ให้เรานับคะแนนในข้อที่ทำได้แน่นอน หากเกิน 60 ก็ถือว่าผ่านแล้ว แต่หากยังไม่ถึง ก็ต้องพยายามงัดสมองทุกก้อนพยายามทำข้อที่ยังไม่ทำ รอบสุดท้ายเวลาจะบีบบังคับ วิธีการง่ายๆคือให้เฉลี่ยกระดาษคำตอบเป็น 25% ของแต่ละตัวเลือกและฝนให้เท่าๆกัน 
เมื่อไกล้หมดเวลา เป็นช่วงลุ้นตัวโก่งว่าต้องเสียเงินสมัครสอบอีกหรือเปล่า ขอให้ทุกท่าน มีหน้าจอที่เขียนว่า " คุณสอบผ่าน 100 คะแนน "  


ด่านที่สอง  วิชาเฉพาะ ภาคไครภาคมัน  
หลังจากพักทานข้าวเที่ยงแล้ว ก็มาสอบต่อในด่านวิชาเฉพาะ อันนี้ส่วนใหญ่จะมีการคำนวณแค่ 25 % ที่เหลือต้องเข้าใจ
ก็ต้องเลือกสอบในวิชาที่ตัวเองเรียนมาในหลักสูตร  ด่านนี้คิดว่าคงผ่านไม่ยากเท่าด่านแรก หลักการทำข้อสอบก็เหมือนกับด่านแรกไม่มีผิด จะทราบผลทันทีหลังการสอบ 

เมื่อผ่านหมดทั้ง 2 ด่านแล้ว ก็เข้าสู่ขั้นตอนการอบรม ด่านนี้ต้องฟังบรรยายเกี่ยวกับจรรยาบรรณและข้อควรปฏิบัติต่างๆ ค่อนข้างเยอะและมีประโยชน์มากๆ  และมีการสอบวัดผลหลังจบการบรรยายด้วย 

หากสอบผ่านก็จะต้องเสียเงินอีกรอบและรอใบประกอบวิชาชีพอยู่ที่บ้านได้เลย ทางสภาฯจะส่งมาให้ตามที่อยู่ที่ลงทะเบียนไว้ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ