ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การออกแบบสายพานลำเลียง ตอนที่ 1

   สวัสดีครับ ในวันนี้ จะขอนำประสบการณ์ของตนเองในงานระบบสายพานลำเลียงมาเขียนให้ท่านผู้อ่านได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันครับ

    สมัยผู้เขียนทำงานเป็นทางการที่แรก ตอนที่สำเร็จการศึกษาใหม่ๆ ก็อยู่ที่ บ.เอกชนแห่งหนึ่ง ที่ทำเกี่ยวกับออกแบบและสร้างระบบลำเลียง มีมากมายหลายประเภท ตอนนั้นก็จะเป็นระบบ Roller ขนกล่อง แบบสายพาน Modular คล้ายๆ Lego มาต่อๆกัน สายพานลำเลียงอาหารแบบต่าง สายพานทอดกุ้ง สายพานในร้านอาหารญี่ปุ่นพวก ชาบูชิ เป็นต้น
   ผู้เขียนทำงานอยู่ที่นี่เป็นเวลา 1 ปี ก็พอจะสรุปงานประเภทต่างๆได้ทั้งหมดและขีดความสามารถของแต่ละประเภท  ที่ทำงานที่แรกนี้เจ้าของกิจการเป็นศิษเก่า MHT พระนครเหนือ รุ่นแรกๆ วันหนึ่งเมื่อเห็นว่าถึงจุดหนึ่ง ผู้เขียนก็ลาออกจากที่นี่และใช้ชีวิตไปทำงาน ณ บริษัทต่างๆอีกหลายบริษัท กว่าจะมาเปิดกิจการของตนเอง และสละเวลาส่วยตัวมาเขียนบล๊อคแลกเปลี่ยนประสบการณ์ให้ท่านได้อ่านกันนี้

  เกริ่นมาซะยาวยืด !! มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า
ระบบขนถ่ายแต่เดิมในไทยนั้น ถูกปกครองด้วยเหล่าคณะ MHT จากสถาบันต่างๆจากชั้นนำในไทย ผู้เขียนมิได้สำเร็จจากสถาบันชั้นนำ เลยต้องหาความรู้เองมากหน่อย  ไม่ว่าจะไปทางไหนก็เจอแต่ผู้ยื่นซองหน้าเดิมๆ จนกระทั่งเอ่ยคำว่า อ้าว!! เจอกันอีกแล้วเหรอพี่ !!
  หลักการของการขนถ่าย สรุปได้โดยง่ายก็คือ " วิธีการเคลื่อนย้ายวัตถุที่ต้องการจากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งที่ปลอดภัย คุ้มค่า " ซึ่งทั้งหมดนี้ อยู่ภายใต้กฎข้อที่ 2 ของนิวตัน นั่นคือ ผลรวมของแรง มีค่าเท่ากับ มวล คูณด้วยความเร่ง
   เห็นแบบนี้แล้ว ชาวคณะวิศวกรทั้งหลายแหล่เป็นต้องร้อง อ๋ออออ ยาวๆแน่ๆเพราะ มันเป็นวิชาที่ว่าด้วยเรื่อง Dynamic หรือ พลศาสตร์ ที่เรียนกันตั้งแต่ปี 1 หรือ ปี 2 โน่นเลย
   ในไทยนั้น ผมไม่ขอกล่าวอ้างอิงกับองค์กรใดๆ เพราะไทยนั้นเป็นเมืองมาเฟีย ผมจึงขอเขียนและอ้างอิงให้ไม่กระทบผู้ใด เพราะหากไปกระทบอาจจะโดนยิงหัวตายได้ ตำรวจก็ไม่หาตัวมือปืนแน่นอน 555  เนื่องจากต้องการใช้ความรู้ความสามารถมาทำให้เกิดประโยชน์กับสังคมหมู่มากเป็นหลัก และพยายามยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจด้วยความรู้ด้านวิศวกรรมที่มีมาสร้างนวตกรรมออกมาจำหน่าย เพื่อนำรายได้มาเลี้ยงปากท้อง


  ตอนนี้เป็นตอนที่ 1 จะขอสรุปให้ฟังว่า  ก่อนจะออกแบบระบบลำเลียง ผู้ออกแบบต้องมีความรู้ก่อนดังนี้
1. คุณต้องการออกแบบอะไร
2.คุณออกแบบไปทำไม
3.คุณออกแบบที่ไหน
4.คุณออกแบบอย่างไร

ส่วน 5. คือ คุณจะขายเท่าไหร่ ถ้ามันเป็นหน้าที่ของคุณ คุณต้องร้ด้วย หรือว่า คุณจะยกยังไง จะวางแผนขนใส่รถเทรลเลอร์อย่างไร วางซ้อนอย่างไร เป็นต้น

ในโลกนี้ ( ผมอยากเป็นพลเมืองโลกมากกว่าราษฎรไทย ) มีเหล่านักวิทยาศาสตร์ เหล่าวิศวกร ที่ทำงานทุ่มเทเวลาและกำลังเพื่อสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ หนึ่งในนั้นคือระบบสายพานลำเลียง ซึ่ง คนเหล่านี้ ก็ได้มารวมตัวกันเพื่อประโยชน์ของชาวโลก มิได้แบ่งสีเสื้อกันและคล้องนกหวีดประกาศตนเป็นคนดีกว่าผู้อื่นแต่อย่างใดไม่ กลับกัน กลุ่มคนเหล่านี้ ได้สร้างมาตรฐานขึ้นมา โดยมีชื่อว่า มาตรฐาน CEMA ใช่ครับ อ่านว่า ซีม่า !! กลุ่มคนที่ติดทหารรับใช้นายพล หรือไม่อาบน้ำหลายวันคงทราบดี ( ไม่ใช่ซีม่าโลชั่นครับ 555 )
มันคือ องค์กรความร่วมมือของเหล่าผู้ผลิตอุปกรณ์เกี่ยวกับสายพานลำเลียงนั่นเองครับ หรือภาษาบริเตนใหญ่ เขียนว่า " Conveyor Equipment Manufacturers Association )

ตอนที่ 1 นี้ ขอจบไว้ที่ ซีม่า !! ครับ






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...