ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หลักการในการออกแบบ Silo

หลักการในการออกแบบ Silo

     ขึ้นหัวข้อไว้นานแล้ว เพราะอยากจะเขียนแต่หาเวลามาเขียนไม่ได้ ที่จริงเวลามีแต่ดันเอาไปทำเรื่องไม่เป้นเรื่อง
งั้นเรามาเริ่มเลย ผมก็ไม่ได้เก่งอะไรหรอกนะครับ แค่คนไร้การศึกษาคนหนึ่งเท่านั้น เพราะฉะนั้น หากท่านผุ้อ่านมีคำชี้แนะ ก็สามารถคอมเมนท์ได้เต้มที่ จะด่าก็ได้ครับ
    เรามารู้จักหัวข้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับไซโลกันก่อนครับ ผมเอาพอเท่าที่นึกทึกทักเอาได้นะครับ อย่าคิดว่ามันเป็นบทควายทางวิชาการ เพราะผมมันคนไร้การศึกษา เอาไปอ้างอิงอะไรไม่ได้ครับ อ่านเพื่อให้เสียเวลาชีวิตเล่นๆเท่านั้นก็พอครับ

0. ว่าด้วยไซโล
1. ที่มาของการมีไซโล
2.ขั้นตอนในการออกแบบไซโล
3.คุณสมบัติของวัสดุที่จะบรรจุในไซโล
4.การออกแบบการไหลภายในไซโล
5.การคำนวณแรงดันของไซโล
6.การออกแบบอุปกรณ์ช่วยทำให้วัสดุไหลในไซโลได้ดีขึ้น


0.หากยกมาตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้และการศึกษาสูงสุดของชาติไทยแลนด์ บอกไว้ว่า " สิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ ทำจากวัสดุที่แข็งแรง ทนทาน ภายในมีระบบกันชื้นและระบายอากาศ สำหรับเก็บผลผลิตการเกษตรไว้ชั่วคราวก่อนส่งออก "

ผมคนไร้การศึกษาอ่านแล้วก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเหตุเพราะไร้ซึ่งการศึกษา แต่ผมคิดว่า มันจะออกแบบไว้ให้บรรจุอะไรก็ได้ มันแล้วแต่ความต้องการ จะออกแบบให้ใส่เหี้ยจนเต็มไซโลก็ได้  ไซโลมันมีหลายแบบ มันแล้วแต่การออกแบบของแต่ละคน ว่าจะออกแบบยังไง พอจะแบ่งประเภทได้ 2 ประเภท คือ "ไซโลตูดเรียบ"  กับ "ไซโลกรวย "
 0.1 ไซโลตูดเรียบ หรือ ไซโลเลียบตูด
     
      ตามในภาพด้านบนนั่นแหละ คือ สถานที่เลียบตูด หรือ ไซโลแบบตูดเรียบ ไอ้ตาคนนี้สร้างไซโลเป็นที่อยุ่อาศัย ซึ่งขัดกับราชบัณฑิตยสถาน  
คือให้ดูที่พื้นไซโลหรือตูดนั่นแหละ 

0.2 ไซโลกรวย  คือมีส่วนประกอบของกรวย  

อะไรที่มีส่วนประกอบของกรวยแล้วใส่ของได้ตามต้องการ ของที่ใส่เคลื่อนที่ได้ตามต้องการ นั่นคือ 0.2



1. ทำไมต้องมีไซโล หาดดูตามข้อ 0 ที่ผู้มีการศึกษาได้กล่าวก็คงคิดว่าเอาไว้เก็บผลผลิตก่อนส่งออกอีกแล้วแน่ๆครับ   มันอยู่ที่ว่า เขาจะออกแบบไว้ทำไมมันก็เรื่องของคนออกแบบและเจ้าของกิจการ บางคนออกแบบไว้เบิกเงินจากภาครัฐ พอได้เงินแล้วก็ไม่ทำงานแล้ว  ชาวนาบางคนออกแบบยุ้งฉางไว้เก็บข้าวเปลือก แต่ไม่ได้เรียกไซโล ก็ช่างหัวชาวนา เพราะถึงไหนๆ TDRI ก็ออกมาบอกกับประชาชนชาวนาไทยแลนด์แล้วว่า ชาวนาต้องขายข้าวที่ 6 บาทต่อกิโลกรัม ประเทศถึงจะเดินหน้าต่อไปได้  แต่โรงสีนายทุนนั้นย่อมดีเลิศ ซื้อข้าวเปลือกชาวนา 6 บาท สีเป็นข้าวสารมาขายชาวนากิโลละ 35 บาท  นั้นดีแน่ๆ เพราะนายทุนมีไซโล เก็บข้าวได้มาก
หากพิณา( เลียนแบบท่านชวน ) ข้อมูลที่ยกตัวอย่างมา จะพบว่า มันจำเป็นต้องเก็บของพวกนี้เยอะมาก หากจะกองไว้มันก็เสียหาย จึงต้องเก็บไว้ในที่ที่เก็บได้และเอาออกมาได้เมื่อต้องการอย่างมีประสิทธิรูป ( ตอนนี้บ้านเมืองเราถูกท่านสุเทพ เทือกสุบรรณปฏิภาพแล้ว คำว่า ภาพ กับ รูป จึงเหมือนกัน )


2. การออกแบบไซโลนั้น ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง  อย่างแรกคือ เราจะเก็บอะไร เก็บเท่าไหร่ เก็บที่ไหน เก็บอย่างไร   เมื่อรู้ตัวแปรเหล่านี้ ก็จะทราบว่าตัวแปรต่างๆเมื่อทำ Balance boundary of mat แล้วจะออกมาในรูปแบบอย่างไร เช่นดังภาพ

3. เราจะบรรจุอะไรในไซโลก็ต้องไปดูคุณสมบัติของมันให้ชัดเจน

ต้องดูให้ลึกซึ้งไปจนถึงระดับอนุภาค

เมื่อเรารู้เกี่ยวกับของที่เราจะเก็บ เราก็ต้องมาดูมาตรฐาน ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เช่น เราจะสร้างไซโลเหล็ก ก็ต้องไปดูมารตฐานงานเหล็ก การเชื่อมเหล็ก การออกแบบคำนวณเหล็ก เป็นต้น 
จากนั้นก็ทำการออกแบบตามหลักวิศวกรรม ซึ่งต้องแบ่งเป็น 2 สถานะ คือ เติม และ ถ่ายออก  ซึ่งพิณาจากแรงดันภายในถัง ซึ่งมีอีกปัจจัยคือ แรงดันภายนอกถังที่เกิดจากลม ต้องดูอีกว่าลมที่ไหน พัดเท่าไหร่ 





ซึ่งการออกแบบ ต้องคำนึงถึงการไหลภายในด้วย ว่าจะมีการไหลอย่างไร

หรือจะแก้ไขอย่างไรหากมันไม่ไหล จะได้ทำ TOR จัดซื้อค้อนมาเคาะเพิ่มการไหล
เดี๋ยวนี้มีวิธีการ DEM เข้ามาช่วย สามารถหามาเล่นเพิ่มการศึกษาได้


ซึ่งในโลกนี้มีคนใจดีได้สรุปเป็นค่ามาตรฐานไว้ให้ จากการทดลองของพวกเขา ซึ่งนับว่าน่ากราบเท้าเป็นอย่างยิ่ง แต่ต้องพิณาด้วยนะว่ามันใช่แบบเดียวกับที่เราต้องการหรือเปล่า
สุดท้ายแล้ว ค่าต่างๆ สามารถสรุปได้ตามที่ผู้ออกแบบต้องการ 



วัสดุช่วยไหลที่นำมาติดตั้งเพิ่มมีหลายแบบ
ปืนลม ค้อนลม ตัวสั่น หมุนควง และอีกหลากหลายเครื่องมือเชิงกลต่างๆ


หวังว่า คงไม่เห็นรอยค้อนที่ไซโลหลังได้แนวคิดจากการออกแบบนะครับ
ด้วยความปรารถนาดีจาก คนไร้การศึกษา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ