ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งานโปรแกรมเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยไม่ผิดกฎหมาย

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน  เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าปัจจุบันการพัฒนาซอฟท์แวร์พัฒนาไปไกลมาก  ประเทศที่เจริญแล้วสามารถสร้างงานสร้างรายได้จากการขายซอฟท์แวร์ได้เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาอย่างเรา ต้องปลูกข้าวเอาข้าวไปแลกซอฟท์แวร์เหล่านี้มา
      ระบบปฏิบัติการในปัจจุบันที่นิยมหลักๆก็มีอยู่ 3 ค่าย คือ Windows , OSX , Linux ซึ่ง Windows เป็นที่นิยมมาก โดยมีจำนวนผู้ใช้มากที่สุด เด็กๆเล็กๆอนุบาลก็มีการเรียนการสอนบนพื้นฐาน Windows กันหมด โปรแกรมในงานวิศวกรรมก็พัฒนามา Support Windows ด้วยเป็นอย่างมาก
     ในประเทศกำลังพัฒนาอย่างบ้านเรา การละเมิดสิทธิ์มีอย่างแพร่หลายและหลากหลายรูปแบบ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น จะกล่าวโทษผู้ใดผู้หนึ่งเสียทีเดียวก็ไม่ได้ เพราะในโรงเรียนเองก็ไม่แน่ใจว่าถูกต้องทั้งหมดหรือเปล่า แม้กระทั่งโปรแกรมที่ตำรวจบนโรงพักใช้นั้นก็ยังไม่มั่นใจว่าถูกกฎหมายหรือไม่
     เป้าหมายของบทความนี้ไม่ใช่การไล่ให้ผู้อ่านไปซื้อโปรแกรมโดยการนำข้าวสารไปแลก แต่ผมขอเสนอทางเลือกที่สวยงามให้กับผู้ที่ทำงานและมีความจำเป็นต้องใช้โปรแกรมที่มีความสามารถในงานที่ทำ โดยบางท่านมีพื้นฐานไม่เท่ากัน จึงขอกล่าวรวมๆ
     ผมจะขอยกตัวอย่างซอฟท์แวร์ฟรีทางวิศวกรรมที่สามารถทดแทนซอฟท์แวร์ราคาแพงได้
ในงานประเภท CAD ( Computational Aided design ) 2 มิติ มีโปรแกรมฟรีๆที่สามารถทดแทน AutoCAD ได้ เช่น

1. DraftSight จากค่าย ดัสซอลส์ ซีสเต็ม ซึ่งเป็นโปรแกรมขนาดเล็ก มีทั้งตัวฟรีและตัวขาย โดยตัวฟรีจะต้องลงทะเบียนทุกๆ 30 วัน  โปรแกรมนี้สามารถทดแทน AutoCAD ได้ทันที ลักษณะการใช้งานคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมาก รองรับภาษาไทยอีกด้วย


2. LibreCAD โปรแกรมฟรีแวร์ที่มีความสามารถสูงเช่นกัน สามารถทดแทน AutoCAD ได้ดีทีเดียว แต่การใช้งานอาจจะแตกต่างไปบ้าง

3.FreeCAD เป็นโปรแกรมฟรีที่สามารถสร้างไฟล์ .DWG/.DXF ได้โดยมีเครื่องมือที่ครบครันพอควร ไม่น่าเกลียดสำหรับโปรแกรมฟรี

4.QCad เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจมากด้วยขนาดที่เล็กแต่ความสามารถไม่เล็กตามขนาดไฟล์

ในส่วนโปรแกรมออกแบบ 3 มิตินั้น ก็มีตัวฟรีอยู่เหมือนกัน เช่น

1.SolidEdge ( Student Edition ) ที่สามารถลงทะเบียนเพื่อขอรับได้ฟรี เหมาะแก่การศึกษาเป็นอย่างมาก ด้วยความสามารถที่ทัดเทียมกับตัวขาย จึงเป็นที่นิยมสูง


2.DesignSpark จากทาง RS Component ที่ร่วมมือกับ SpaceClaim สร้างโปรแกรมที่สะดวกในการออกแบบ 3 มิติ ที่ใช้อุปกรณ์ของ RS Component  คือสามารถดาวน์โหลดอุปกรณ์มาทำงานต่อได้เลยบน DesignSpark นับว่าเป็นประโยชน์กับลูกค้าของ RS Component อย่างยิ่ง


3.SketchUp Make ที่ใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีระบบไฟล์ที่ใช้งานร่วมกันอย่างกว้างขวาง สามารถดาวน์โหลดมาทำงานได้ทันทีและมีผู้พัฒนา Plugin เป็นจำนวนมาก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ เช่น เครื่องกล - โยธา เป็นต้น

4. LeoCAD เป็นระบบเลโก 3 มิติ เหมาะกับเด็กๆหรือผู้ที่รักความสนุกสนานในการเรียนรู้ระบบงาน 3 มิติ

5.On shape เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง สามารถรองรับไฟล์ต่างๆได้อย่างหลากหลายในแบบ Native เช่น DXF - STL - DWG - IGES - SAT - STEP - SolidWorks - Catia - Creo - Inventor เป็นต้น

รายละเอียดที่กล่าวมา เป็นทางเลือกให้กับทุกท่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันสร้างจิตสำนึกหลีกเลี่ยงการละเมิดผมเชื่อว่าวันหนึ่งประเทศชาติของเราเจริญก้าวหน้าได้อย่างแน่นอน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ