ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่าด้วยเรื่องทะเลอ่าวไทย และเรือดำน้ำ S26T จากจีน

ตามข่าวที่แพร่หลายในสื่อต่างๆ ที่เหล่าคนมีความรู้เป็นเลิศได้กล่าว เช่น ท่าน พลเอก ประวิทย์ วงศ์สุวรรณ  ที่สนับสนุนให้มีเรือดำน้ำและบอกว่าของดีราคาถูกคุ้มค่า  ท่าน พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด ที่บอกว่า มีเรือดำน้ำ S26T ไว้ปกป้องทรัพยากรทางทะเล ซึ่งท่าน พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด เคยแสดงความสามารถทางฟิสิกส์ขั้นสูงสุดยอดมาแล้วในรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ของคุณ สรยุทธ ในเรื่อง GT200 ซึ่งท่านได้นำสไลด์ของกองทัพและใช้ภาพจากผู้ผลิตการ์ดจอ nVidia ซึ่งชื่อชิปตรงกับชื่อของ GT200 พอดี มากล่าวอ้าง

   ดูเรื่องทะเลไทยก่อนครับ  ทะเลไทยเป็นทะเลน้ำตื้น ลึกสูงสุดไม่ถึง 100 เมตร
จากแผนที่ข้อมูลความลึกของกองทัพเรือไทย จะแสดงให้เห็นภาพความลึกได้อย่างง่ายๆ
แถบชายฝั่งที่มีทรัพยากรทางทะเลจะมีความลึกประมาณ 25 เมตร ซึ่งท่าน พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด ย้ำชัดว่า ต้องการเรือดำน้ำมาปกป้องทรัพยากรทางทะเล 

จากนั้น มาดูเรือดำน้ำ S26T จากประเทศจีนกันครับ

ผมไม่ค่อยมีความรู้ จึงได้แต่เปรียบเทียบสเป็คจากเว็บไซต์ผู้ผลิตครับ

ไม่ต้องเอาอะไรมากก่อนครับ เอาแค่ ความ กว้าง ยาว สูง ครับ
ตัวเรือมีความกว้าง 8.6 เมตร ยาว 79.5 เมตร สูง 9.2 เมตร 

ผมเป็นคนไม่ค่อยมีความรู้ในทางกองทัพ จึงลองใช้โปรแกรม 3 มิติ วาดภาพเปรียบเทียบความลึกดูในอัตราพิกัด 1mm : 100 km



    สีเขียวอ่อนแถบบนสุดลึก 10 เมตร ถัดไล่ลงมาชั้นละ 10 เมตร เรื่อยๆ จนถึงสีแดง มีความลึกที่สุด 80 เมตร    จากนั้น ผมจะลองตัดเพื่อวาดเรือดำน้ำลงไป ผมตัดผ่านพื้นที่สีแดงเลยครับ เพราะเอาใจกองทัพและพลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด เพื่อให้ผ่านพื้นที่ลึกที่สุด แน่นอนว่า อาจจะมาตั้งฐานเรือดำน้ำอยู่แถวๆสงขลาหรือ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 




ลองวาดเรือลงในอ่าวไทยครับ

และลองวาดความลึกที่สุดในพื้นที่สีแดงที่ลึก 80 เมตร เปรียบเทียบกับความยาวเรือ S26T ที่พลเอกประวิทย์บอกว่าคุ้มดูครับ

น่าจะเปรียบเทียบกันชัดเจน  พูดง่ายๆก็คือ เรือ S26T จากจีน ต้องทำการลอยลำในแนวระดับอย่างเดียวถึงจะไม่ครูดไปกับทรัพยากรในทะเล 


และขออ้างอิงพระราชดำรัสรัชกาลที่ 9 มา ณ ที่นี้


ก็คงจะจริงตามที่ในหลวง ร.9 กล่าว  เครื่องบินคงจะเห็นแจ๋วจริงๆ 

ก็คงจะเห็นภาพได้ชัดเจนในเรื่องประเทศสยามกับเรือดำน้ำนะครับ 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...