แอพพลิเคชั่น Rock Conveyor Lite ( LTSB ) และ Rock Conveyor Lite เป็นเครื่องมือช่วยในการคำนวณค่าต่างๆในระบบสายพานลำเลียงแบบสายพานยางดำ หรือ "Belt Conveyor" ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่ว่านี้พัฒนาขึ้นโดยผู้เขียนเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อทำใช้เองเป็นหลักและได้นำไปใช้ให้คำนวณที่หน้างาน จนมีคำถามจากลูกค้าจึงได้เกิดการพัฒนาแจกให้ผู้ใช้งานที่สนใจได้ใช้กันโดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ก่อนอื่นจำเป็นต้องโหลดแอพพลิเคชั่นมาติดตั้งในเครื่องก่อน สามารถดาวน์โหลดได้จาก ที่นี่!!
สำหรับตัว LTSB สามารถดาวน์โหลดได้จาก ที่นี่! เมื่อติดตั้งแล้ว ก็เป็นอันว่าพร้อมสำหรับการใช้งาน
ตัวอย่างวิธีการใช้งานแอพพลิเคชั่น
ผู้ใช้งานเข้าพบลูกค้าและสำรวจหน้างาน พบว่า " ลูกค้า ต้องการลำเลียง Wood pellets มีค่า Density 38 ปอนด์/ลูกบาศก์ฟุต โดยลำเลียงขึ้นที่สูง เป็นมุมชัน 8 องศา จุดรับ Wood pellets และจุดปล่อย ห่างกัน 25 ฟุต โดยมีอัตราการลำเลียงที่ต้องการไม่ต่ำกว่า 165 ตัน/ชั่วโมง "
ในกรณีดังกล่าว สามารถ Sketch รูปคร่าวๆของสายพานลำเลียงได้ตามรูปที่ 1.
สิ่งที่ต้องทราบในการออกแบบเพื่อเสนอราคาคือ
1.ความกว้างของสายพานลำเลียง ( ต้องมีความเหมาะสม สำหรับรองรับอัตราการขนถ่าย โดยที่มีราคาเหมาะสม )
2.ความยาวสายพานลำเลียงตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางของมู่เลย์ตัวขับ จนถึง มู่เลย์ตัวท้าย
3.ความเร็วในการขนถ่าย Wood pellets
4.กำลังมอเตอร์ที่ใช้ในการหมุนมู่เลย์ตัวขับหรือแรงบิดที่ต้องใช้หมุนมู่เลย์ตัวขับเพื่อลำเลียง Wood pellets
5.มุมองศาของชุดขาลูกกลิ้งลำเลียง
วิธีการออกแบบ
1.หา C-C Length (m) ซึ่งเป็นค่าที่ต้องเติมลงใน Application
จากรูปที่ 1. จะทราบว่า X+25ft = CC(Cos8°) -----------------------(1) โดยมีที่มาจากรูปที่ 2
ค่า X คือค่าทีอยู่ในช่วง Transition Distance จนถึงจุดรับโหลด คือ ช่วงที่สายพานเปลี่ยนรูปจากเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง เพื่อรองรับ Wood pellets
จุด Loading Point ที่ดีควรหางจากชุดลูกกลิ้งช่วง Transition ประมาณ 3 นิ้ว หรือประมาณ 75 มม. ( ระยะ y )
และระยะ Transition Dist สำหรับสายพานแบบยางคือค่าค่าหนึ่ง ในกรณีนี้สมมุติว่าผู้ผลิตสายพานยางกำหนดไว้ที่ 1.8เท่าของความกว้าง ( 1.8BW)
ในกรณีสายพานลำเลียงแบบเรียบ ให้เติมค่า 0 ( ศูนย์ ) ] ลงในช่อง Roller Set Angle
จากรูปที่ 2 และ รูปที่ 3 ตลอดจน ------(1) จะได้ว่า
X = 1.8BW+75 (mm) --------------( 2 ) ; BW = Belt Width คือ ความกว้างสายพาน
แทน (2) ใน (1) จะได้
CC = (1.8BW+75mm+25ft )/Cos 8° ----------------( 3 )
จัดรูปสมการ 3 ใหม่ โดยใช้ความสามารถของ Application ในส่วนของ Converter โดยการแปลง Ft เป็น mm ดังรูป
จะได้ 7.62 m หรือ 7620 mm ฉะนั้น จะได้ว่า
CC = (1.8BW+ 7695mm )/0.99026 -----------------(3')
จากสมการ 3' ต้องใช้การ Trial & Error เพื่อหาค่าความกว้างสายพานที่ดีที่สุด โดยอยู่บนหลัก Economy โดยขอยกตัวอย่าง ราคาของสายพานแต่ละความกว้าง ดังนี้
1.BW 500มม ราคา 5 บาท/เมตร
2.BW 600มม ราคา 5.753 บาท/เมตร
3.BW 650มม ราคา 6 บาท/เมตร
4.BW 800มม ราคา 7500 บาท/เมตร
5.BW 1000มม ราคา 65 บาท/เมตร
เป็นต้น
นำจำนวนความกว้างสายพานทั้ง 5 ความกว้าง แทนค่าลงในสมการที่ 3' ทีละค่า ( ทำ 5 ครั้ง ) จะได้ค่าตามรูปที่ 5
ค่าที่ได้ทั้ง 5 ค่านี้ เราต้องคำนึงถึงระยะหน้างาน ว่าจะส่งผลต่ออะไรบ้าง เพราะ ระยะความยาวของสายพาน จะต่างกันตรงส่วนล่าง เพราะต้องยึดจุดปล่อยวัสดุ จุดรับวัสดุ และมุมเป็นหลัก หากส่วนล่างมีความยาวจนถึงพื้นก็ไม่สามารถใช้ค่าที่มีปัญหานั้นได้เช่นกัน ในกรณีตัวอย่างการออกแบบนี้ จะสมมุติว่า ความสูงจากพื้นไม่เป็นปัญหาสำหรับการออกแบบ
นำค่าความยาวสายพาน มาคูณด้วยราคาสายพาน จะได้ค่าที่สมควรเลือกใช้ ดังรูป
จะพบว่า ค่าที่ส่งผลให้สายพานลำเลียงราคาถูกที่สุดคือ ค่าความกว้างสายพาน 500 มม
และค่าสูงที่สุดคือค่าความกว้างสายพาน 800 มม. (ในที่นี้ ผมขอยกตัวอย่างการเสนองานให้กองทัพแห่งหนึ่งของประเทศหนึ่ง ผมจึงไม่เสนอราคาที่ถูก แต่จะเสนอราคาที่แพงที่สุด เพื่อไม่ให้ขัดต่อเป้าหมายของแม่ทัพท่านหนึ่ง )
เมื่อเลือกค่าความกว้าง 800 มม.เรียบร้อยแล้ว จะพบว่า มีค่า ความยาวสายพานลำเลียงทั้งสิ้น 9.224 เมตร.
จากนั้น ให้มาทำการเลือกมู่เลย์ตัวขับ และองศาของชุดขาลูกกลิ้งรองรับสายพาน ว่าจะใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกี่มิลลิเมตร และชุดองศาขาลูกกลิ้งรองรับสายพานว่าต้องใช้กี่องศา โดยใช้สเป็คของผู้ผลิตสายพานที่กำหนด หรือว่าใช้ราคาเช่นในกรณีข้างต้นเป็นเกณฑ์ร่วมด้วยก็ได้
สมมุติว่าคำนวณลงตัวที่ความโต ( ø ) 500 มม. และมีมุมองศาชุดลูกกลิ้ง 35 องศา
และ Wood pellets มีค่ามุมกองจากการวัดจริง หรือจากฐานข้อมูลที่มี อยู่ที่ 32 องศา ( Repose ) มีค่ามุมกองขณะเคลื่อนที่ อยู่ที่ 19 องศา ( Surcharge )
แปลงค่าหน่วยต่างๆให้ตรงกันกับค่าที่ Application ต้องการโดยความสามารถ Converter.
นำค่าทั้งหมด เติมลงใน Application ดังรูป
ตัวอย่างวิธีการใช้งานแอพพลิเคชั่น
ผู้ใช้งานเข้าพบลูกค้าและสำรวจหน้างาน พบว่า " ลูกค้า ต้องการลำเลียง Wood pellets มีค่า Density 38 ปอนด์/ลูกบาศก์ฟุต โดยลำเลียงขึ้นที่สูง เป็นมุมชัน 8 องศา จุดรับ Wood pellets และจุดปล่อย ห่างกัน 25 ฟุต โดยมีอัตราการลำเลียงที่ต้องการไม่ต่ำกว่า 165 ตัน/ชั่วโมง "
ในกรณีดังกล่าว สามารถ Sketch รูปคร่าวๆของสายพานลำเลียงได้ตามรูปที่ 1.
สิ่งที่ต้องทราบในการออกแบบเพื่อเสนอราคาคือ
1.ความกว้างของสายพานลำเลียง ( ต้องมีความเหมาะสม สำหรับรองรับอัตราการขนถ่าย โดยที่มีราคาเหมาะสม )
2.ความยาวสายพานลำเลียงตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลางของมู่เลย์ตัวขับ จนถึง มู่เลย์ตัวท้าย
3.ความเร็วในการขนถ่าย Wood pellets
4.กำลังมอเตอร์ที่ใช้ในการหมุนมู่เลย์ตัวขับหรือแรงบิดที่ต้องใช้หมุนมู่เลย์ตัวขับเพื่อลำเลียง Wood pellets
5.มุมองศาของชุดขาลูกกลิ้งลำเลียง
วิธีการออกแบบ
1.หา C-C Length (m) ซึ่งเป็นค่าที่ต้องเติมลงใน Application
จากรูปที่ 1. จะทราบว่า X+25ft = CC(Cos8°) -----------------------(1) โดยมีที่มาจากรูปที่ 2
ค่า X คือค่าทีอยู่ในช่วง Transition Distance จนถึงจุดรับโหลด คือ ช่วงที่สายพานเปลี่ยนรูปจากเส้นตรงเป็นเส้นโค้ง เพื่อรองรับ Wood pellets
จุด Loading Point ที่ดีควรหางจากชุดลูกกลิ้งช่วง Transition ประมาณ 3 นิ้ว หรือประมาณ 75 มม. ( ระยะ y )
และระยะ Transition Dist สำหรับสายพานแบบยางคือค่าค่าหนึ่ง ในกรณีนี้สมมุติว่าผู้ผลิตสายพานยางกำหนดไว้ที่ 1.8เท่าของความกว้าง ( 1.8BW)
ในกรณีสายพานลำเลียงแบบเรียบ ให้เติมค่า 0 ( ศูนย์ ) ] ลงในช่อง Roller Set Angle
จากรูปที่ 2 และ รูปที่ 3 ตลอดจน ------(1) จะได้ว่า
X = 1.8BW+75 (mm) --------------( 2 ) ; BW = Belt Width คือ ความกว้างสายพาน
แทน (2) ใน (1) จะได้
CC = (1.8BW+75mm+25ft )/Cos 8° ----------------( 3 )
จัดรูปสมการ 3 ใหม่ โดยใช้ความสามารถของ Application ในส่วนของ Converter โดยการแปลง Ft เป็น mm ดังรูป
จะได้ 7.62 m หรือ 7620 mm ฉะนั้น จะได้ว่า
CC = (1.8BW+ 7695mm )/0.99026 -----------------(3')
จากสมการ 3' ต้องใช้การ Trial & Error เพื่อหาค่าความกว้างสายพานที่ดีที่สุด โดยอยู่บนหลัก Economy โดยขอยกตัวอย่าง ราคาของสายพานแต่ละความกว้าง ดังนี้
1.BW 500มม ราคา 5 บาท/เมตร
2.BW 600มม ราคา 5.753 บาท/เมตร
3.BW 650มม ราคา 6 บาท/เมตร
4.BW 800มม ราคา 7500 บาท/เมตร
5.BW 1000มม ราคา 65 บาท/เมตร
เป็นต้น
นำจำนวนความกว้างสายพานทั้ง 5 ความกว้าง แทนค่าลงในสมการที่ 3' ทีละค่า ( ทำ 5 ครั้ง ) จะได้ค่าตามรูปที่ 5
ค่าที่ได้ทั้ง 5 ค่านี้ เราต้องคำนึงถึงระยะหน้างาน ว่าจะส่งผลต่ออะไรบ้าง เพราะ ระยะความยาวของสายพาน จะต่างกันตรงส่วนล่าง เพราะต้องยึดจุดปล่อยวัสดุ จุดรับวัสดุ และมุมเป็นหลัก หากส่วนล่างมีความยาวจนถึงพื้นก็ไม่สามารถใช้ค่าที่มีปัญหานั้นได้เช่นกัน ในกรณีตัวอย่างการออกแบบนี้ จะสมมุติว่า ความสูงจากพื้นไม่เป็นปัญหาสำหรับการออกแบบ
นำค่าความยาวสายพาน มาคูณด้วยราคาสายพาน จะได้ค่าที่สมควรเลือกใช้ ดังรูป
จะพบว่า ค่าที่ส่งผลให้สายพานลำเลียงราคาถูกที่สุดคือ ค่าความกว้างสายพาน 500 มม
และค่าสูงที่สุดคือค่าความกว้างสายพาน 800 มม. (ในที่นี้ ผมขอยกตัวอย่างการเสนองานให้กองทัพแห่งหนึ่งของประเทศหนึ่ง ผมจึงไม่เสนอราคาที่ถูก แต่จะเสนอราคาที่แพงที่สุด เพื่อไม่ให้ขัดต่อเป้าหมายของแม่ทัพท่านหนึ่ง )
เมื่อเลือกค่าความกว้าง 800 มม.เรียบร้อยแล้ว จะพบว่า มีค่า ความยาวสายพานลำเลียงทั้งสิ้น 9.224 เมตร.
จากนั้น ให้มาทำการเลือกมู่เลย์ตัวขับ และองศาของชุดขาลูกกลิ้งรองรับสายพาน ว่าจะใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกี่มิลลิเมตร และชุดองศาขาลูกกลิ้งรองรับสายพานว่าต้องใช้กี่องศา โดยใช้สเป็คของผู้ผลิตสายพานที่กำหนด หรือว่าใช้ราคาเช่นในกรณีข้างต้นเป็นเกณฑ์ร่วมด้วยก็ได้
สมมุติว่าคำนวณลงตัวที่ความโต ( ø ) 500 มม. และมีมุมองศาชุดลูกกลิ้ง 35 องศา
และ Wood pellets มีค่ามุมกองจากการวัดจริง หรือจากฐานข้อมูลที่มี อยู่ที่ 32 องศา ( Repose ) มีค่ามุมกองขณะเคลื่อนที่ อยู่ที่ 19 องศา ( Surcharge )
แปลงค่าหน่วยต่างๆให้ตรงกันกับค่าที่ Application ต้องการโดยความสามารถ Converter.
นำค่าทั้งหมด เติมลงใน Application ดังรูป
จากนั้นกดปุ่ม Result หรือ CHECK THE RESULTS ก็ได้ จะพบผลลัพธ์ดังรูป
ค่าผลลัพธ์ มีดังนี้
1.Belt Tension ( N ) คือ ค่าความตึงสายพาน ค่านี้ อยู่ที่ 3904.77 นิวตัน สามารถใช้ค่านี้ออกแบบตัวปรับความตึงสายพานได้
2.Driving Torque (Nm) ต้องใช้ค่าแรงบิดที่กระทำต่อเพลา มีค่า 973.5 นิวตันเมตร สามารถออกแบบเพลามู่เลย์โดยใช้ค่าแรงบิดนี้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้ได้ค่าความโจเพลาและวัสดุที่จะทำเพลาขับได้
3.Capacity (TPH) คืออัตราการขนถ่าย 175 ตัน/ชม ( สามารถเติมเข้ามาได้จากความต้องการของลูกค้า )
4.Drive Power ( kW) คือ กำลังมอเตอร์ที่ใช้ในการขับ โดยนำค่าที่ได้นี้ไปเลือกซื้อมอเตอร์ได้
5.Belt Speed (m/s) คือความเร็วของสายพานที่วิ่งลำเลียงวัสดุ
6.CEMA Cross Section คือ พื้นที่หน้าตัดของวัสดุบนสายพานลำเลียงในขณะที่ทำการลำเลียง
7.Gearbox Ratio 1: 80.66 คือ อัตราทดห้องเกียร์ของมอเตอร์ขับ อยู่ที่ 1 ต่อ 80 สามารถนำไปเลือกซื้อชุดเกียร์ทดหรือมอเตอร์เกียร์ได้
8.Bulk Density 9.Belt Width 10. Conveyor Length คือค่าที่เติมเข้ามาจากหน้าการป้อนค่า
หวังว่าทุกท่าน คงจะได้รับประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อย หากมีข้อสงสัยซักถามหรือแนะนำ สามารถคอมเมนท์ใต้บทความนี้ได้เลยครับ
ปล.ข้อจำกัดของ Application คือ
1.Version Free ( Rock Conveyor Lite ) สามารถคำนวณได้ที่ความยาวสายพานลำเลียงไม่เกิน 36 เมตร
2.Rock Conveyor Lite LTSB สามารถคำนวณได้ที่ความยาวสายพานลำเลียงไม่เกิน 200 เมตร
3.รอบมอเตอร์ในแอพพลิเคชันกำหนดไว้ที่ 1470 รอบ/นาที โดยที่เป็นมอเตอร์ธรรมดา ( IE1)
ซึ่งข้อจำกัดทั้งหมดนี้ จะหมดไปในเวอร์ชัน Rock Conveyor Engineering.
Thanks
ตอบลบ