ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

วิธีผูกบัตร We card ( virtual card ) กับ Paypal

สวัสดีครับทุกท่านที่ติดตามบล๊อค
วันนี้จะมาแนะนำวิธีการผูกบัตรเครดิตเสมือน หรือ Virtual card ของ True wallet เข้ากับบัญชี Paypal เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินครับ
ก่อนอื่นท่านต้องสมัครสมาชิก Paypal และติดตั้ง App True money wallet ก่อนครับ ( ต้องมีเงินใน wallet true จำนวน 80 บาทด้วยครับ  จากนั้นหาส่วนที่เป็นการเชื่อมโยงบัตรใหม่จากหน้าเว็บ Paypal

ในส่วนการเชื่อมโยงบัตร เมื่อคลิกแล้วจะมีหน้าใหม่แสดงขึ้นมา  จะมีช่องอยู่ 5 ช่อง คือ
1.หมายเลขบัตรเครดิต ส่วนนี้ให้เติม หมายเลขบัตร We card ลงไปได้เลย
2.ประเภทบัตร dก็เลือกให้ตรงกับประเภทบัตรของ We card ของเรา
3.วันหมดอายุ ก็เติมไปตามข้อมูลของบัตร We card ที่เรามี
4.รหัสความปลอดภัย   ส่วนนี้ Paypal จะเรียกเก็บเงินจำนวน 7x.xx บาท เพื่อตรวจสอบว่าเราถือบัตรเครดิตจริงหรือเปล่า โดยจะตัดเงินจำนวนดังกล่าวไปจากบัตร We card ของเรา

4.1 เมื่อ Paypal ตัดเงินไปจาก We card ให้คุณเปิด App True money wallet และ Log in จากนั้นหาส่วนประวัติการทำรายการ จะเห็นรายการที่ขึ้นต้นด้วย PP*ตามด้วยรหัส 4 หลัก และนำรหัส 4 หลักนี้ยืนยันบัตร Wecard ที่ได้ผูกไว้กับ Paypal ซึ่งจะได้รับรหัสทันทีและยืนยันได้ทันทีโดยไม่ต้องรอ

ส่วนเงินจำนวน 7x.xx ที่ Paypal ตัดไปนั้น ยอดเงินดังกล่าว Paypal จะคืนให้หลังการดำเนินการยืนยันตัวตนเสร็จสิ้น ไม่เกิน 7 วัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...