ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเลือกใช้ GPU หรือการ์ดจอให้เหมาะสมกับงานทางวิศวกรรม

GPU หรือ Graphic Processing Unit หรือที่เรียกกันโยทั่วไปว่า การ์ดจอ นั้น ส่วนใหญ่ผู้บริโภค 80% ที่ยังไม่ทราบว่าเครื่องตนเองนั้นใช้ GPU เป็นรุ่นอะไร

ในโปรแกรมทางวิศวกรรมสมัยใหม่ จำเป็นต้องใช้การประมวลผลจากฮาร์ดแวร์ค่อนข้างสูง ซึ่งโดยทั่วไปพวกเราจะรู้กันว่า CPU จะเป็นตัวทำหน้าที่นี้ แต่ในปัจจุบัน การพัฒนาขึ้นของการผลิตชิปให้มีเทคโนโลยีการผลิตที่เล็กลง ทำให้ประสิทธิภาพการประมวลผลของชิปได้มีพลังการคำนวณสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางวิศวกรรมได้เพิ่มความสามารถให้กับซอฟท์แวร์ของตนให้ดึงพลังจาก GPU มาประมวลผลได้ด้วย ทำให้ GPU เป็นทางเลือกในการประมวลผลที่ดีกว่าเนื่องจากหาซื้อง่ายมีคุณสมบัติหลากหลาย

ในกลุ่มเกมเมอร์ เหล่าผู้ผลิตเกมส์ส่วนใหญ่จะใช้ ความสามารถของ GPU ในส่วน Pixel rate และ Texture rate ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลด้านมัลติมีเดียในเกมส์โดยตรง ซึ่งตรงนี้ GPU บางรุ่นจะมีค่าค่อนข้างน้อยแต่กลับมีค่า FP16 FP32 FP64 ที่แตกต่างกันออกไป
ยกตัวอย่างกรณีเปรียบเทียบ RX480 ที่ราคาตอนเปิดตัวอยู่ที่ 8500 บาท  และ GTX1080Ti ที่มีราคาเปิดตัว 23900 บาท ขอเปรียบเทียบให้ดูเป็นรายการด้านล่าง


                                        RX480  8GB                                  GTX1080Ti 11GB
                                                             
 Pixel Rate                        40.51 Gpixel/s                                         139.2 GPixel/s
Texure Rate                      182.3 GTexel/s                                         354.4GTexel/s
FP16(half)                        5.834 TFlops                                            177.2 GFlops
FP32(float)                       5.834 TFlops                                            11.34 TFlops
FP64(double)                    364.6 GFlops                                           354.4 GFlops

จะพบว่า หากนำมาใช้เล่นเกมส์ ทางด้าน GTX1080Ti จะมีความสามารถสูงกว่ามาก
แต่หากนำมาคำนวณผลที่ใช้อัลกอริทึมแบบ FP16 หรือ FP64 ทางด้าน RX480 จะมีความสามารถสูงกว่า

ยกตัวอย่างซอฟท์แวร์ประเภท Discrete Element Method ( DEM ) ของผู้ผลิตเจ้าหนึ่ง ระบุว่า
"
key differentiators typically being number of cores, size of available memory and FP64 (double precision) performance."


แสดงให้เห็นว่า ราคาของการ์ดจอไม่สามารถบ่งบอกความสำมารถของการ์ดได้อย่างมีนัยสำคัญกับงานประมวลผลทางตัวเลข แต่จะมีนัยสำคัญกับการประมวลผลทางด้านมัลติมีเดีย

เรื่องนี้จะติดปากกันแบบปากต่อปากเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะพนักงานขายที่ไม่มีความรู้ในเรื่องเหล่านี้แล้วไปขายให้กับคนซื้อ คนซื้อได้ฟังก็ซื้อไปใช้งานแต่กลับพบว่าการใช้งานมันไม่ได้ออกมาตามที่หวังไว้ คนขายได้เงินไปแล้วก็บ่ายเบี่ยงแก้ไขปัญหาไม่ได้เพราะว่าไม่รู้จะแก้อย่างไรก็ได้แต่บอกให้ User ทนใช้ๆไปจนกว่าอายุการรับประกันจะหมดลง นี่คือความคับแค้นใจของผู้เขียนบทความมาโดยตลอด

ยกตัวอย่างการณีศึกษาความสามารถของ CPU vs GPU จะพบว่า GPU มีความสามารถในการประมวลผลเชิงตัวเลขมากกว่า CPU เป็นอย่างมาก ในกรณี case Hopper Discharge เมื่อหาข้อมูล GPU พบว่า เมื่อมีการใช้การคำนวณแบบ FP64 การ์ด AMD Pro Wx9100 จะมีขีดความสามารถสูงกว่า 1080Ti ( 768 GFlops vs  354.4 GFlops ) 

กรณีการ์ดที่เป็นรุ่นเดียวกันแต่ชื่อต่างกัน เช่น Quadro P5000 กับ GTX1080 จะพบว่า จะมีค่าความสามารถทุกอย่างทางสเป็คเท่ากัน  จะต่างกันก็ตรง Ram เท่านั้น

                       GTX1080  8GB                                  Quadro P5000 16GB
                                                           
 Pixel Rate                        110.9 Gpixel/s                                         110.9 GPixel/s
Texure Rate                      277.3 GTexel/s                                         277.3 GTexel/s
FP16(half)                        138.6 GFlops                                           138.6 GFlops
FP32(float)                       8.873 TFlops                                            8.873 TFlops
FP64(double)                    277.3 GFlops                                          277.3 GFlops
เมื่อพิจารณาด้วยตรรกะพื้นฐานเชิงเปรียบเทียบ พบว่า เป็นเรื่องการตลาดล้วนๆ ( ไม่เกี่ยวกับวิศวกรรม ) หากปลดล๊อคบางอย่างในการ์ด GTX1080 ได้ก็จะมีความสามารถไม่ต่างกับ Quadro P5000

สรุป.
ในการเลือก GPU ต้องดูให้ตรงกับ Software ที่ใช้งาน เช่น หากเล่นเกมส์ก็ใช้ GPU ที่มี Pixel - Texel
Rate สูงๆ ส่วนหากจะใช้คำนวณเชิงตัวเลข ต้องดูซอฟท์แวร์ว่าใช้ความสามารถในด้านไหน และเลือกการ์ดให้ตรงกับความสามารถนั้น  การเลือกแบบนี้จะทำให้ผู้ซื้อได้รับประโยชน์สูงสุด คุ้มค่ากับงบประมาณ




ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Welcome.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ