แหล่งจ่ายไฟ หรือ Power supply unit (PSU) เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ ในวันนี้จะมายกตัวอย่างการคำนวณและเลือกใช้ Power supply กันครับ
ขั้นตอนการเลือก Power supply มาใช้กับชุดคอมพิวเตอร์ของเรานั้นถ้าจะให้ดีที่สุดต้องมีการคำนวณการกินไฟรวมของอุปกรณ์ต่างๆเสียก่อน เริ่มตั้งแต่
CPU อัตราการกินไฟของ CPU นั้น ไม่มีการบอกว่ากี่วัตต์ เพียงแต่บอกเป็นลักษณะของการกำเนิดความร้อน หรือ Thermal designed power (TDP) ซึ่งในทางทฤษฎี การใช้พลังงานหรือการกินไฟของ CPU จะน้อยกว่า Maximum TDP ซึ่งการเลือกใช้ค่า TDP ของ CPU นั้นสามารถนำค่านี้ไปเลือกซื้อระบบระบายความร้อนได้อีกด้วย
Motherboard หรือที่เรียกกันอย่างติดหูว่า เมนบอร์ด อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหลากหลายขนาดและหลายมาตรฐาน โดยทั่วไปอัตราการกินไฟของบอร์ดทั่วไปจะอยู่ที่ 25-40 W และบอร์ดแบบ High end จะกินไฟอยู่ที่ 45 - 80W
HDD/SSD โดยทั่วไป SSD จะกินไฟประมาณ 0.6- 2.8 W ส่วน Hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว จะกินไฟที่ 0.7 - 3 W และ Hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว จะกินไฟประมาณ 6 - 10 W
VGA หรือการ์ดแสดงผล เรียกอีกอย่างคือ การ์ดจอ เป็นส่วนที่กินไฟมากที่สุดในบรรดาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีอัตราการกินไฟหรือ Recommended PSU ระบุไว้ที่ตัว Package ส่วนการกินไฟ สามารถจำแนกคร่าวๆได้ดังนี้
การ์ดใบเล็กแบบ Low profile หรือ Low end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 86W
การ์ดขนาดกลาง หรือ Mid end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 164W
การ์ดขนาดใหญ่ หรือ High end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 258W
การ์ดเรือธงหรือการ์ดพิเศษ หรือ Top end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 350W
Ram การกินไฟของแรมนั้นหากเป็นแรมชนิด DDR จะกินไฟแถวละประมาณ 4-5.5W หากเป็น DDR2 จะกินไฟแถวละประมาณ 3 - 4.5W และหากเป็น DDR3 และ DDR4 จะกินไฟแถวละประมาณ 2-3 W
Cooling System เช่น พัดลม ให้นำ V มาคูณกับ I จะได้กำลัง W เช่น 12V 0.25A จะได้ 12 x 0.25 = 3W เป็นต้น
Accessories เช่น DVD/Blue-ray Drive มีค่าการกินไฟประมาณ 30W
นำข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆใส่ตารางเพื่อหาการกินไฟรวม ตัวอย่างเช่น
CPU= 125W
MB= 80W
SSD/HDD = 30W
VGA = 350W
RAM = 12W
Cooling system= 30W
Accessories = 30W
Total = 657W
**675W คืออัตราการบริโภคไฟฟ้าสูงสุดที่ Peak load ของอุปกรณ์ชุดนี้ หาหเป็นการใช้งานทั่วไปจะมีการใช้พลังงานอยู่ที่ 25-40% ของ Peak load**
โดยทั่วไปจะต้องทราบก่อนว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ในลักษณะใด เช่น ใช้คำนวณผลทางวิศวกรรม ตลอดเวลาที่ Peak load หรือ ดูหนังฟังเพลง เล่นเกมส์ ตลอดจนใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในกรณีหลังจะใช้พลังงานเพียงแค่ 40% ของ 675W นั่นคือ 270W เท่านั้น
เมื่อได้วัตต์(W)รวม ก็มาถึงการเลือกซื้อ Power supply ซึ่งหากจะใช้ Power supply ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ PSU ที่คิดจะเลือกมาใช้งาน โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต เช่น
PSU ตัวนี้ มี Capacity ที่ 850W โดยที่ หากใช้งานที่ 100% จะมีประสิทธิภาพการจ่ายไฟอยู่ที่ 87.08% และหากจะใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้ที่ Load 50% ของกำลัง Capacity ของ PSU นั่นคือ 425W และหากมีการใช้งานที่ 20% ของ Capacity PSU ตัวนี้จะมีประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 89.06 %
และ PSU อีกตัวที่สนใจจะนำมาใช้งานคือ
จะเห็นได้ว่า PSU ตัวนี้มีอัตราการจ่ายไฟฟ้าได้สูงกว่า คือ 1050W และมีประสิทธิภาพโหลดที่ 50% สูงสุดที่ 89.65%
โจทย์ของเราคือ อัตราการใช้ไฟสูงสุดของเรามีค่า 675W และใช้งานทางวิศวกรรม คำนวณผลตลอดเวลา ที่โหลดมากกว่า 90% ( ในกรณีนี้สามารถใช้ค่า 675W มาคภนวณหา PSU ได้เลย )
จากข้อมูลของผู้ผลิตทั้ง 2 เจ้า หากเราจะใช้งานให้ PSU มีประสิทธิภาพการจ่ายไฟสูงที่สุด ต้องใช้งานที่ 50% ของ Capacity นั่นคือ ตัวพิกัด 850W ต้องใช้ที่ 425W และตัว 1050W จะต้องใช้งานที่ 525W
เราจะพบว่า 625W มีค่ามากกว่าพิกัด 50% ของ PSU ทั้งสองตัว ซึ่ง 625 W จะอยู่ในช่วง 50% - 100%
ของ PSU ทั้งสองตัว และค่าที่จะตัดสินในการเลือกใช้งาน PSU ของเราก็คือ PSU ตัวแรก ขนาด 850W เพราะหากใช้งานที่ 100% ของโหลด จะสามารถให้ประสิทธิภาพการจ่ายไฟได้สูงถึง 87.08% ซึ่งมากกว่า PSU ตัวที่สอง ที่สามารถทำได้ที่ 85.74% ซึ่งแน่นอนว่า ค่าตั้งต้นที่ 50% และค่าสุดท้ายที่ 100% เป็นไปตามแนวโน้มเดียวกัน คือ PSU ตัวที่สอง มีประสิทธิภาพน้อยกว่าในช่วงการจ่ายไฟดังกล่าวที่ยกมาพิจารณา
นี่เป็นตัวอย่างของการเลือกใช้งาน PSU ให้เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าและประหยัดงบประมาณได้เป็นอย่างดี
References
1.http://www.pc-specs.com/psu/Corsair/Corsair_HX1050_1050W/169
2.http://www.pc-specs.com/psu/XFX/XFX_Core_Edition_PRO_850W/30
3.http://www.buildcomputers.net/power-consumption-of-pc-components.html
4.https://www.intel.com/content/www/us/en/support/articles/000055611/processors.html
5.https://www.anandtech.com/show/2624/debunking-power-supply-myths/3
ขั้นตอนการเลือก Power supply มาใช้กับชุดคอมพิวเตอร์ของเรานั้นถ้าจะให้ดีที่สุดต้องมีการคำนวณการกินไฟรวมของอุปกรณ์ต่างๆเสียก่อน เริ่มตั้งแต่
CPU อัตราการกินไฟของ CPU นั้น ไม่มีการบอกว่ากี่วัตต์ เพียงแต่บอกเป็นลักษณะของการกำเนิดความร้อน หรือ Thermal designed power (TDP) ซึ่งในทางทฤษฎี การใช้พลังงานหรือการกินไฟของ CPU จะน้อยกว่า Maximum TDP ซึ่งการเลือกใช้ค่า TDP ของ CPU นั้นสามารถนำค่านี้ไปเลือกซื้อระบบระบายความร้อนได้อีกด้วย
Motherboard หรือที่เรียกกันอย่างติดหูว่า เมนบอร์ด อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหลากหลายขนาดและหลายมาตรฐาน โดยทั่วไปอัตราการกินไฟของบอร์ดทั่วไปจะอยู่ที่ 25-40 W และบอร์ดแบบ High end จะกินไฟอยู่ที่ 45 - 80W
HDD/SSD โดยทั่วไป SSD จะกินไฟประมาณ 0.6- 2.8 W ส่วน Hard disk ขนาด 2.5 นิ้ว จะกินไฟที่ 0.7 - 3 W และ Hard disk ขนาด 3.5 นิ้ว จะกินไฟประมาณ 6 - 10 W
VGA หรือการ์ดแสดงผล เรียกอีกอย่างคือ การ์ดจอ เป็นส่วนที่กินไฟมากที่สุดในบรรดาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะมีอัตราการกินไฟหรือ Recommended PSU ระบุไว้ที่ตัว Package ส่วนการกินไฟ สามารถจำแนกคร่าวๆได้ดังนี้
การ์ดใบเล็กแบบ Low profile หรือ Low end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 86W
การ์ดขนาดกลาง หรือ Mid end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 164W
การ์ดขนาดใหญ่ หรือ High end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 258W
การ์ดเรือธงหรือการ์ดพิเศษ หรือ Top end graphic card จะกินไฟสูงสุดไม่เกิน 350W
Ram การกินไฟของแรมนั้นหากเป็นแรมชนิด DDR จะกินไฟแถวละประมาณ 4-5.5W หากเป็น DDR2 จะกินไฟแถวละประมาณ 3 - 4.5W และหากเป็น DDR3 และ DDR4 จะกินไฟแถวละประมาณ 2-3 W
Cooling System เช่น พัดลม ให้นำ V มาคูณกับ I จะได้กำลัง W เช่น 12V 0.25A จะได้ 12 x 0.25 = 3W เป็นต้น
Accessories เช่น DVD/Blue-ray Drive มีค่าการกินไฟประมาณ 30W
นำข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆใส่ตารางเพื่อหาการกินไฟรวม ตัวอย่างเช่น
CPU= 125W
MB= 80W
SSD/HDD = 30W
VGA = 350W
RAM = 12W
Cooling system= 30W
Accessories = 30W
Total = 657W
**675W คืออัตราการบริโภคไฟฟ้าสูงสุดที่ Peak load ของอุปกรณ์ชุดนี้ หาหเป็นการใช้งานทั่วไปจะมีการใช้พลังงานอยู่ที่ 25-40% ของ Peak load**
โดยทั่วไปจะต้องทราบก่อนว่าจะใช้คอมพิวเตอร์เครื่องนี้ในลักษณะใด เช่น ใช้คำนวณผลทางวิศวกรรม ตลอดเวลาที่ Peak load หรือ ดูหนังฟังเพลง เล่นเกมส์ ตลอดจนใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน ในกรณีหลังจะใช้พลังงานเพียงแค่ 40% ของ 675W นั่นคือ 270W เท่านั้น
เมื่อได้วัตต์(W)รวม ก็มาถึงการเลือกซื้อ Power supply ซึ่งหากจะใช้ Power supply ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นต้องเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับ PSU ที่คิดจะเลือกมาใช้งาน โดยสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต เช่น
PSU ตัวนี้ มี Capacity ที่ 850W โดยที่ หากใช้งานที่ 100% จะมีประสิทธิภาพการจ่ายไฟอยู่ที่ 87.08% และหากจะใช้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องใช้ที่ Load 50% ของกำลัง Capacity ของ PSU นั่นคือ 425W และหากมีการใช้งานที่ 20% ของ Capacity PSU ตัวนี้จะมีประสิทธิภาพการจ่ายไฟที่ 89.06 %
และ PSU อีกตัวที่สนใจจะนำมาใช้งานคือ
จะเห็นได้ว่า PSU ตัวนี้มีอัตราการจ่ายไฟฟ้าได้สูงกว่า คือ 1050W และมีประสิทธิภาพโหลดที่ 50% สูงสุดที่ 89.65%
โจทย์ของเราคือ อัตราการใช้ไฟสูงสุดของเรามีค่า 675W และใช้งานทางวิศวกรรม คำนวณผลตลอดเวลา ที่โหลดมากกว่า 90% ( ในกรณีนี้สามารถใช้ค่า 675W มาคภนวณหา PSU ได้เลย )
จากข้อมูลของผู้ผลิตทั้ง 2 เจ้า หากเราจะใช้งานให้ PSU มีประสิทธิภาพการจ่ายไฟสูงที่สุด ต้องใช้งานที่ 50% ของ Capacity นั่นคือ ตัวพิกัด 850W ต้องใช้ที่ 425W และตัว 1050W จะต้องใช้งานที่ 525W
เราจะพบว่า 625W มีค่ามากกว่าพิกัด 50% ของ PSU ทั้งสองตัว ซึ่ง 625 W จะอยู่ในช่วง 50% - 100%
ของ PSU ทั้งสองตัว และค่าที่จะตัดสินในการเลือกใช้งาน PSU ของเราก็คือ PSU ตัวแรก ขนาด 850W เพราะหากใช้งานที่ 100% ของโหลด จะสามารถให้ประสิทธิภาพการจ่ายไฟได้สูงถึง 87.08% ซึ่งมากกว่า PSU ตัวที่สอง ที่สามารถทำได้ที่ 85.74% ซึ่งแน่นอนว่า ค่าตั้งต้นที่ 50% และค่าสุดท้ายที่ 100% เป็นไปตามแนวโน้มเดียวกัน คือ PSU ตัวที่สอง มีประสิทธิภาพน้อยกว่าในช่วงการจ่ายไฟดังกล่าวที่ยกมาพิจารณา
นี่เป็นตัวอย่างของการเลือกใช้งาน PSU ให้เหมาะสมซึ่งจะช่วยให้ประหยัดไฟฟ้าและประหยัดงบประมาณได้เป็นอย่างดี
References
1.http://www.pc-specs.com/psu/Corsair/Corsair_HX1050_1050W/169
2.http://www.pc-specs.com/psu/XFX/XFX_Core_Edition_PRO_850W/30
3.http://www.buildcomputers.net/power-consumption-of-pc-components.html
4.https://www.intel.com/content/www/us/en/support/articles/000055611/processors.html
5.https://www.anandtech.com/show/2624/debunking-power-supply-myths/3
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
Welcome.