ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเลือกใช้การ์ดจอ สำหรับโปรแกรม SolidWorks ให้คุ้มค่าที่สุด

   SolidWorks เป็น Software ออกแบบ 3 มิติ ที่ทำงานบนระบบ Windows ซึ่งมีหลากหลาย Version พัฒนาไปเรื่อยๆตามปีที่เปลี่ยนแปลงไป ผมจะขอจับประเด็นที่ SolidWorks 2019 โดยจะแบ่งเป็นชุดก่อน 2019 และหลังจากรุ่น 2019

   ปัจจัยหลักในการใช้งาน SolidWorks ได้อย่างสนุกนั้น หนีไม่พ้น การ์ดแสดงผล หรือ การ์ดจอ เพราะว่าเจ้าสิ่งนี้คือตัวที่ทำให้ภาพในหน้าจอขณะที่ทำงาน มีการแสดงผลได้ตรงกับความคิด ความรู้สึกของผู้ออกแบบ  สิ่งที่จะทำให้เกิดการกระตุก หรือการแสดงผลผิดเพี้ยน ทั้งเรื่อง Geometry และ Color ก็มาจากการ์ดจอและจอแสดงผลทั้งสิ้น ฉะนั้น วันนี้ผมจะมาสอนวิธีการเลือกใช้งานการ์ดจอสำหรับโปรแกรมนี้กันอย่างถูกต้องคุ้มค่าเงินในกระเป๋าของท่านๆกัน

  ก่อนที่เราจะมาเลือกการ์ดจอกันนั้น เราต้องทำความรู้จักกับธรรมชาติของ Software SolidWorks กันก่อน ว่ามันมีองค์ประกอบและการออกแบบมาอย่างไร

  ตั้งแต่ SolidWorks 2019 เป็นต้นมา ทางผู้ผลิต (  Dassault Systèmes (DS) ) ได้เปลี่ยน Graphic Engine ในตัว Software มาใช้ OpenGL 4.5 แต่ไม่ได้ถูกเปิดใช้งานฟังก์ชั่นนี้หากไม่ได้ปรับตั้งค่าการใช้งาน ซึ่งการปรับตั้งค่าการใช้งาน สามารถทำได้โดยการเลือก Enable performance pipeline ใน Option  -- Performance.

   หลังจากเลือกใช้ Feature นี้ใน Option และทำการรีสตาร์ท 1 ครั้งแล้วจะพบว่าการทำงานในส่วนการแสดงผลจะลื่นไหลขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัดในกรณีที่ใช้ Graphic card ที่รองรับเทคโนโลยี Open GL4.5 หรือสูงกว่า

  ทีนี้มาถึงขั้นตอนการเลือกใช้งานการ์ดจอเพื่อใช้งานกับโปรแกรม SolidWorks

จากข้อความข้างต้น ให้เราเลือกการ์ดจอที่มีเทคโนโลยี OpenGL 4.5 หรือสูงกว่า แต่เราจะรู้ได้อย่างไร?
วิธีการก็คือดู Fact sheet spec ของการ์ดใบที่เราสนใจ หรือ ดูได้จากเว็บไซต์ผู้ผลิต หรือเว็บไซต์ที่รวบรวมเรื่องเหล่านี้ไว้เป็นฐานข้อมูล เช่น Techpowerup เป็นต้น 
ตัวอย่างเช่น ผมต้องการทราบว่า AMD Vega 56 มีสเป็คอย่างไรบ้าง ก็สามารถหาในเว็บไซต์ดังกล่าวได้ ตามลิงค์ https://www.techpowerup.com/gpu-specs/radeon-rx-vega-56.c2993
จากนั้นดูตรง Graphic Feature จะพบคำว่า OpenGL4.6 แสดงว่าการ์ดใบนี้สามารถใช้งานกับ SolidWorks ได้อย่างไม่มีปัญหา


ทีนี้มาลองดูการ์ดจออีกตัวที่ผมอยากทราบ คือ Quadro RTX 4000 ลองดูส่วนของ Graphic Features ก็พบว่ามีความสามารถในการรองรับ OpenGL ได้สูงกว่ารุ่น 4.5 ได้เช่นกัน

ปัจจัยต่อมาในการเลือกการ์ดจอก็คืออัตราความเร็วในการแสดงผล หรือ Pixel rate และ Texture rate ค่านี้เป็นค่าสำคัญในการที่เราจะทราบว่าการ์ดแสดงผลได้เร็วขนาดไหน
เราจะมาดูค่าของ Vega 64 กันบ้าง
จากนั้นมาดูส่วนของ Quadro RTX 4000 กันบ้าง
เราจะพบว่า AMD Vega64 จะมีค่าประสิทธิภาพในทางทฤษฎีสูงกว่า Nvidia Quadro RTX 4000
โดยอัตราการแสดงผล Pixel rate มีค่าพอๆกัน แต่ Texture rate นั้น Vega 64 ทิ้งห่าง Quadro RTX 4000 เป็นอย่างมาก ส่วน Floating point performance ทั้ง 16 บิท 32 บิท และ 64 บิท นั้น Vega 64 มีประสิทธิภาพเหนือกว่าเป็นอย่างมาก ซึ่งค่าทั้งสามค่านี้จะส่งผลให้การ์ดมีความสามารถในการประมวลผลด้านตัวเลขหรือด้านการจำลองทางวิศวกรรม โดยค่ายิ่งสูงจะยิ่งมีประสิทธิภาพสูง ซึ่งแน่นอนว่า SolidWorks มีความต้องการเหล่านี้อยู่ด้วยเนื่องจากในหมวด FEA นั้น หากนำการ์ดจอมาเป็น Accelerator ได้ มันจะทำให้การประมวลผลเร็วขึ้นมาก

ต่อมาคือราคา ราคาเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อสินค้า ราคาของการืดสองตัว คือ Vega 64 และ Quadro RTX 4000 นั้น ต่างกันเกิน 2 เท่า โดยที่ Quadro RTX มีราคาสูงกว่า

ฉะนั้น การเลือกก็คงไม่ยากแล้วใช่ไหมครับ




ความคิดเห็น

  1. GPU Mining Graphic Card Inc has faith in offering some benefit to its clients. For your solace, we offer you day in and day out client care help to take into account your requirements. radeon rx vega 56

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

Welcome.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...