มีหลายคนตั้งคำถามเรื่อง Spec เครื่องที่ใช้งาน SolidWorks และก็มีหลายคนที่มาตอบ หนึ่งในแนวทางของคำตอบแบบสำเร็จรูปเบ็ดเสร็จเด็ดขาดที่พบเห็นได้บ่อยมากก็คือ บอกให้ผู้ตั้งคำถามไปซื้อ Workstation ไม่ว่าจะเป็น PC หรือ Notebook
ผมก็เคยทดลองใช้ Workstation Brand อยู่ช่วงหนึ่งและในช่วงนั้นก็ได้อาศัยความไม่รู้จริงของตนเองไปบอกให้ผู้อื่นทำตามตนไปสองสามครั้ง ก็ต้องกราบขอโทษย้อนหลังด้วยที่อาจจะทำให้ท่านเสียเงินเยอะแต่ขอยืนยันว่าผมไม่ได้มีส่วนได้ประโยชน์กับเงินตรงนั้นแม้แต่น้อย
วันหนึ่งผมได้ลงทุนซื้อและยืมการ์ดจอมา 8 รุ่น โดยที่ทั้งสองรุ่นเป็นชิปเดียวกัน ( คู่แรก GT630 และ Quadro 600 คู่สอง FireProV4900 และ HD6670 คู่สาม QuadroK2200 และ GTX 750Ti คู่สี่ Vega64 กับ Vega frontier )
จากนั้นก็ไล่เปลี่ยนการ์ดทีละคู่ พร้อมเปิดใช้งาน SolidWorks ไล่ไปทีละตัว และเก็บค่า Registry ที่เปลี่ยนแปลงไป จนครบ จำได้ว่าตอนนั้นใช้เวลาประมาณ 2 วัน 2 คืน และกลับมาใส่ซ้ำอีกในตัวที่ค่าไม่แตกต่าง
( ในขั้นตอนนี้ใช้เวลาและยุ่งยากมากๆเพราะต้องทำซ้ำไปซ้ำมาบนเครื่องเพียง 1 เครื่อง เพราะไร้เครื่องสำรอง การใส่การ์ดใหม่แต่ละครั้งต้องถอน Driver ก่อนเสมอเพราะมีการจอฟ้าเกิดขึ้นหลายครั้ง )
ส่วนการทดสอบกับ SolidWorks นั้นผมได้ทดสอบกับ SolidWorks 2018
และ SolidWorks 2019 ซึ่งผลการทดสอบเดิมๆนั้นเป็นไปตามที่ผมและอีกหลายท่านแนะนำไปในเบื้องต้น นั่นคือ Workstation VGA ดีกว่าในทุกผลการทดสอบครับ คือเสียบการ์ดปุ๊บ ลงไดรเวอร์ปั๊บ เปิดโปรแกรมมาใช้งานได้เลย เฟรมเรตดี ลื่น ไม่ต้องปรับแต่ง
เบื้องต้นนั้นผมคิดว่าการแก้ไข Registry เพื่อให้การ์ดจอทั่วไปหรือที่เราเรียกกันบ้านๆว่าการ์ดจอเล่นเกมส์นั้นสามารถใช้โหมด "RealView" ได้นั้นคือสุดยอดแล้ว ผมได้ใช้วิธีนี้มาโดยตลอดก่อนที่จะกลับมาศึกษา Registry หลายๆค่าอีกรอบ
หลังจากนั้นมาหลายเดือนผมก็พบว่า การใช้งาน RealView บนการ์ดเกมส์นั้นมีจุดด้อยอยู่ที่ Framerate ในขณะที่ทำงาน Assembly และ Drawing
โดยเฉพาะงาน Drawing ที่ซับซ้อนนั้นจะช้ามากจนไม่อยากนั่งทำงาน มีหลายครั้งที่จำเป็นต้อง Section view ในชิ้นงานที่มีส่วนประกอบและงานผิว ทำเอาความเซ็งถาโถมเข้ามาใส่อย่างบ้าคลั่งจนต้องอาศัยการเปิดเพลงรอ
จุดนี้เองทำให้ผมเริ่มลงมือศึกษาอีกรอบ และครั้งนี้ผมก็ได้พบคำตอบที่ผมคิดว่าน่าจะเป็นภูเขาลูกที่สองแล้ว ไม่ได้เป็นความมั่นใจในภูเขาลูกแรกแบบที่เคยเป็น ทุกผลการทดสอบกลับตาลปัตร พลิกกลับข้างกันแทบทั้งหมด
หลังจากปรับแต่งค่าบางอย่างกลับทำให้เหล่าการ์ดเกมส์หนูทดลองกลับทำคะแนน Rx ได้ผลดีกว่าการ์ด Workstation เกือบยกแผง ( เหลือ GT630 ตัวเดียวที่ยังสูสีแบบกินไม่ลงกับ Quadro 600 ทั้งนี้เพราะเป็นการ์ดตัวเล็กสุดและมีความเร็วเท่ากัน )
ผมสรุปทันทีเลยว่า SolidWorks ได้ล๊อคค่าความสะดวกสบายในการทำงานไว้เฉพาะกับการ์ด Workstation เท่านั้น และน่าโมโหมากกับคนทำงานที่ใช้การ์ดเล่นเกมส์ เพราะจริงๆแล้วการ์ดเล่นเกมส์มีผลการทำงานที่ดีกว่าการ์ด Workstation ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความโกรธและโมโหนั้นได้หายสิ้นไป เมื่อผมเปลี่ยนผลการศึกษานั้นเป็นผลประโยชน์เล็กๆน้อยๆเพื่อแลกกับค่าความสะดวกสะบายให้กับผู้ใช้งาน SolidWorks กับการ์ด VGA ทั่วๆไป โดยที่สองสามครั้งที่ผมลงการทดสอบของ SolidWorks Benchmark Rx นั้นจะมีผลเลขหลักเดียว ซึ่งเปรียบดั่งสวรรค์ของการนั่งทำงานหน้าจอเลย
ส่วนเรื่อง Spec สำหรับ Hardware ที่ใช้งานกับ SolidWorks นั้น หากใช้ตาม System Requirement จากเว็บไซต์หลัก ก็จะใช้ได้แน่นอนแต่อาจจะต้องใช้งบประมาณสูงสักหน่อย
และจริงๆ CPU Workstation จะมีความเร็วต่ำกว่าเมื่อเทียบกับ CPU PC ทั่วไป การทำงานที่ต้องใช้พลังสูงจึงไม่สามารถเอาชนะ PC ได้ และ CPU Workstation นั้นมีราคามหาโหดเอามากๆ และต้องใช้งานกับแรมประเภท ECC เท่านั้นถึงจะเปิดโหมดต่างๆที่พึงจะเป็น Workstation ได้ สรุปก็คือ ตอนนี้นิยามของ Workstation ก็น่าจะเป็น Works + Station ที่ยึดโยงกับ Hardware ไม่ได้สักเท่าไหร่แล้ว สิ่งที่แตกต่างกันของ Workstation CPU จำพวก Epic , Xeon กับ General CPU จำพวก Core I , Ryzen หลักๆก็คือความถี่สัญญาณนาฬิกา เพราะฝั่ง WS ต้องการการทำงานตลอด 24/7 ในพื้นที่จำกัด จึงจำเป็นต้องลดความเร็วลงเหลือค่าหนึ่งตามสเป็คที่ระบุเท่านั้น เพราะความร้อนและพื้นที่การระบายอากาศรวมถึงเสียงพัดลมและการใช้พลังงาน
ฉะนั้นหากจะนำ CPU เหล่านั้นมาใช้กับ SolidWorks แล้วก๋อาจจะกระท่อนกระแท่นไปได้แต่ยังไงก็สู้ CPU ความเร็วสูงๆไม่ได้อยู่ดี
ผลทดสอบของผมพบว่า CPU ความเร็วสูงจำพวก Ryzen Series 3 จากทาง AMD มีผลของ Rx ในส่วน IO ค่อนข้างต่ำกว่าทางฝั่ง Intel Core I อยู่พอสมควร ( Ryzen 5 3600 เทียบกับ I5 9600K )
ในส่วนของแรมก็มีผลกับ IO แต่ไม่ส่งผลต่อเฟรมเรตในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ แต่จะมีผลกับการทำงานประเภทวิเคราะห์ ผมเคยเจอประสบการณ์แปลกๆครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถวิเคราะห์ผ่านด้วยเครื่องที่ใช้แรมที่เปิดโหมด ECC แต่กับอีกเครื่องที่ใช้แรมความเร็วสูงนั้นไม่สามารถวิเคราะห์ได้จนสำเร็จ โปรแกรมก็หลุดไปก่อน
ผมสรุปเป็นสูตรสำเร็จได้ดังนี้
1.การจูนคืออะไร?
การ Tune คือการปรับการตั้งค่าต่างๆให้เหมาะสมกับอุปกรณ์
2.เพราะอะไร?
เพราะค่ากลางที่ถูกกำหนดมาอย่างกว้างๆไม่ทันสมัยเพียงพอต่อ Hardware และ Software ในปัจจุบัน
3.เนื่องจากอะไร?
เนื่องจากปัจจัยหลายอย่างขององค์กร เช่น บางท่านใช้ SolidWorks Version 2016 กับ Hardware ที่ผลิตออกมาในปี 2020 เป็นต้น ทำให้ Software ไม่รู้จัก Hardware และไม่สามรถใช้ความสามารถของ Hardware ได้อย่างเต็มกำลัง
4.การจูนส่งผลอะไร?
4.1 การแสดงผลถึงขีดสุดที่ Hardware มีความสามารถทำได้
4.2 เพิ่มความเสถียรให้กับการทำงาน ลดการแฮงค์ การรอแสดงผล ลดความผิดเพี้ยนของการแสดงผล
4.3 เปิดความสามารถของซอฟท์แวร์ในการแสดงผลแบบ RealView และสามารถใช้ความสามารถ Real time ambient occlusion ได้
4.4 สามารถใช้การ์ดจอที่จูนแล้วเรนเดอร์ผ่านซอฟท์แวร์พิเศษ ซึ่งมีความเร็วในการเรนเดอร์สูงกว่า CPU มากกว่า ( AMD เท่านั้น,ความเร็วในการเรนเดอร์ขึ้นกับสเป็กของ Hardware )
4.5 ค่าผลลัพธ์สามารถเห็นได้เป็นตัวเลขจาก Benchmark มาตรฐานของ SolidWorks คือ SolidWorks Rx ที่ติดมากับเครื่องที่ติดตั้ง SolidWorks ทุกเครื่อง ซึ่งค่าเหล่านี้ยิ่งน้อยเท่าไหร่ย่อมดีเท่านั้น
5.การจูนเหมาะกับไคร? ไครที่จำเป็นต้องจูน?
-5.1 เหมาะกับผู้ใช้ Software รุ่นเก่าแต่ใช้ Hardware รุ่นใหม่
-5.2 เหมาะกับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ไม่ใช่ CPU และ VGA Workstation ( Workstation ก็จูนได้ แต่ไม่ค่อยสะดวกสำหรับผม เพราะว่าระบบความปลอดภัยในองค์กรสูง บางแห่งไม่สามารถปรับค่าใดๆได้ )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
Welcome.