ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รับซ่อมเครื่องคิดเลข เครื่องจอดำ เครื่องเปิดไม่ติด

  ผมเป็นวิศวกรเครื่องกล โดยต้องใช้เครื่องคิดเลขอยู่บ่อยๆ  โดยเครื่องคิดเลขรุ่นที่ผมใช้นั้นก็คือ Casio Algebra FX 2.0 ซึ่งแม่ผมได้ซื้อให้ตอนเป็นนักศึกษาปี 1 ซึ่งผมรักและผูกพันธ์กับเครื่องคิดเลขเครื่องนี้มาก 

   เครื่องคิดเลขรุ่นนี้อายุเกิน 20 ปีแล้วหากนับตั้งแต่เริ่มผลิต เพราะรุ่น 2.0 Plus นั้นเริ่มผลิตในปี 2544 โดยที่มีอายุครบ 20 ปีเช่นกัน 

 จุดเด่นของมันคือครอบคลุมการใช้งานในสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ใช้งานง่าย มองเห็นได้ชัดและยังสามารถเขียนโปรแกรมได้อีกด้วย และเทพไปกว่านั้นคือสามารถทำโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเองได้ผ่านระบบ Add-in ด้วยสายเคเบิ้ล FA-124 / SB-88

 เมื่อผ่านการใช้งานมาอย่างยาวนาน จอของเครื่องคิดเลขจะเริ่มดำทีละนิดจนกระทั่งดำทั้งหมด และมองไม่เห็นการแสดงผล นับว่าหลายท่านก็เจอปัญหานี้

  ผมได้ติดต่อเพื่อซ่อมกับร้านขายและซ่อมเครื่องคิดเลขแห่งหนึ่งในกรุงเทพปรากฎว่าค่าเปลี่ยนฟิล์มหน้าเขาคิด 1000 บาท และฟิล์มหลังเขาไม่สามารถเปลี่ยนได้ 

 ผมเริ่มการซ่อมเครื่องของตนเองเพราะไม่อยากทิ้งเครื่องคิดเลขเครื่องนี้ไป แต่การซ่อมเริ่มแรกของผมต้องลองผิดลองถูกอยู่หลายครั้ง 

   ตอนนี้ผมซ่อมเครื่องคิดเลขรุ่นนี้ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 100 เครื่อง (ในตระกูล Algebra ) โดยส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนฟิล์มหน้าจอ ซึ่งมี 2 ด้าน โดยผมมีเครื่องมือพิเศษที่ออกแบบขึ้นเพื่อซ่อมอาการจอดำโดยเฉพาะ ( รวมถึงเครื่องรุ่นอื่นๆและอาการอื่นๆก็รับซ่อม )

  ผมได้นำลิงค์วีดีโอการซ่อมของผมไปแปะในเพจเฟซบุ๊คของร้านซ่อมเครื่องคิดเลขที่ผมติดต่อไปเพื่อซ่อมจอในครั้งแรก ปรากฎว่าผมโดนบล๊อค ไม่สามารถแสดงความเห็นได้ในเพจนั้น และอีกไม่กี่วันต่อมา ทางเขาก็ได้เพิ่มบริการเปลี่ยนฟิล์มหลัง โดยเขาโม้เต็มที่ว่าคิดค้นวิธีเองได้ ผมได้แต่หัวเราะในใจ เพราะเครื่องที่ติดสติ๊กเกอร์ที่ซื้อจากเขาเองก็ถูกส่งมาซ่อมที่ผมหลายสิบเครื่องเช่นกัน ..

 

    อาการที่เจอบ่อยๆก็คือ จอดำ ฟิล์มหลังดำ น้ำกรดกัดแผงวงจรเพราะแบตเสื่อมคาเครื่อง ตัวเลขติดไม่ครบ หรือเป็นเส้น เครื่องเปิดไม่ติด..

   เป้าหมายหลักของผมคือเผยแพร่ความรู้ให้ทุกคนสามารถซ่อมเองได้ เพื่อจะไม่ให้ช่างซ่อมหน้าเลือดมีที่ยืนในสังคมครับ 

  สามารถดูวีดีโอการซ่อมได้จากที่นี่ 

1. เปลี่ยนฟิล์มหน้า https://www.youtube.com/watch?v=cUI3X0T69YY

2. เปลี่ยนฟิล์มหน้า-หลัง https://www.youtube.com/watch?v=X1VywbCgLsA


ภาพตัวอย่างอาการเสียที่ซ่อม

เครื่องที่อาการจอดำ

ตัวอย่างเครื่องคิดเลขที่รับซ่อม

หลังจากซ่อมแล้ว

ทดสอบหลังซ่อม

การทดสอบหลังซ่อม



































โต๊ะซ่อมงาน


 

ท่านใดสนใจอยากซ่อมก็สามารถติดต่อผมได้ที่ลิงค์นี้ครับ

https://www.facebook.com/engineerm.conveyorman1/posts/pfbid02CWLR73SPT1G4gDpKoGtjjPkksapTSYLpSAZMD9Fijb64MbPBT4m5CAcVT12JrJkjl

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

Welcome.

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...