อธิบาย GD&T ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายโดยมุ่งเน้นไปที่การตีความและการวัด
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปร่าง ความตรง ใช้ในการระบุความตรงของชิ้นงาน
ความเรียบ ใช้เพื่อระบุส่วนที่ยื่นออกมามากที่สุดและส่วนที่เว้าเข้าไปมากที่สุด ความกลม ใช้ในการระบุว่าชิ้นงานควรจะใกล้เคียงกับวงกลมที่สมบูรณ์แบบมากเพียงใด ความเป็นทรงกระบอก ใช้ในการระบุว่าชิ้นงานควรจะมีความตรงมากเพียงใดและควรจะใกล้เคียงกับวงกลมที่สมบูรณ์แบบมากเพียงใด ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของเส้น ใช้ในการระบุว่าชิ้นงานควรจะมีความโค้ง (ของส่วนตัดขวาง) มากเพียงใดเมื่อเทียบกับแบบร่าง ความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ ใช้ในการระบุว่าชิ้นงานควรจะมีความโค้ง (ของส่วนตัดขวาง) มากเพียงใดเมื่อเทียบกับแบบร่าง
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของทิศทางการวาง ความขนาน ใช้เพื่อระบุว่าเส้น 2 เส้นหรือระนาบ 2 ระนาบจะมีความขนานที่แม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum ความตั้งฉาก ใช้เพื่อระบุว่าชิ้นงานจะมีความตั้งฉากที่แม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum ความเป็นมุม ใช้เพื่อระบุว่าชิ้นงานจะมีความเป็นมุมที่แม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของตำแหน่ง ตำแหน่ง ใช้เพื่อระบุว่าชิ้นงานมีตำแหน่งที่แม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum ความร่วมแกน ใช้ในการระบุว่าแกนของทรงกระบอก 2 ชิ้นมีความร่วมแกน (ไม่มีความเบี่ยงเบนจากแกนกลาง) มากเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum ความร่วมศูนย์ ใช้ในการระบุว่าแกนของทรงกระบอก 2 ชิ้นมีความร่วมศูนย์ (ไม่มีความเบี่ยงเบนจากจุดศูนย์กลาง) มากเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum ความสมมาตร ใช้เพื่อระบุว่าชิ้นงานจะมีความสมมาตรที่แม่นยำเพียงใดเมื่อเทียบกับ Datum
เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของการหนีจากจุดอ้างอิง การหนีศูนย์กลางของวงกลม ใช้ในการระบุการหนีจากจุดอ้างอิงที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของเส้นรอบวงเมื่อชิ้นงานหมุน การหนีแนวระนาบ ใช้เพื่อระบุการหนีจากจุดอ้างอิงของพื้นผิวทั้งหมดเมื่อชิ้นงานหมุน
ข้อกำหนดของ Envelope “E” จะหมายถึง “Envelope” สัญลักษณ์นี้จะระบุถึงความสัมพันธ์ของเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดและเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิต โดยจะระบุ Envelope ของรูปร่างสมบูรณ์ สภาวะอิสระของชิ้นส่วนยืดหยุ่น “F” หมายถึง “สภาวะอิสระ” สัญลักษณ์นี้ระบุถึงการเปลี่ยนรูปที่เกินกว่าเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของขนาดหรือเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตภายใต้สภาวะอิสระ การใช้ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือน้อยที่สุด “L” หมายถึง “ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือน้อยที่สุด” สัญลักษณ์นี้จะระบุถึงการใช้ปริมาณของวัสดุน้อยที่สุด การใช้งานส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด “M” หมายถึง “ส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด” สัญลักษณ์นี้จะระบุถึงส่วนที่มีปริมาณเนื้อวัสดุเหลือมากที่สุด การระบุขอบเขตความคลาดเคลื่อนที่ประมาณการณ์ “P” หมายถึง“ขอบเขตความคลาดเคลื่อนที่ประมาณการณ์” สัญลักษณ์นี้จะระบุเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนที่ใช้กับส่วนที่ยื่นออกมาของ Feature ไม่จำเป็นต้องใช้วัสดุ สัญลักษณ์ที่ใช้โดยมาตรฐาน ANSI ซึ่งหมายถึง “โดยไม่คำนึงถึงขนาดของ Feature (RFS)” สัญลักษณ์นี้ได้ถูกยกเลิกไปในมาตรฐาน ASME Y14.5-2009 การระบุระนาบสัมผัส (เฉพาะ ASME) “T” หมายถึง “ระนาบสัมผัส” การทำมุมของระนาบที่สัมผัสกับพื้นผิวเมื่อเทียบกับระนาบ Datum ภายในระยะของพื้นผิวที่กำหนดจะระบุโดยใช้ความขนาน โดยระนาบสัมผัสจะระบุถึงความนูนของพื้นผิว ไม่ใช่ความเว้า ซึ่งแตกต่างจากความขนาน ความคลาดเคลื่อนของโปรไฟล์ที่ถูกนำออกไม่เท่ากัน (เฉพาะ ASME) “U” หมายถึง “โปรไฟล์ที่ถูกนำออกไม่เท่ากัน” ซึ่งจะระบุช่วงของปริมาณค่าชดเชยที่เกินมาจากขอบเขตความคลาดเคลื่อน (ขีดจำกัดขอบเขตความคลาดเคลื่อน) ในแง่ของความคลาดเคลื่อนที่โปรไฟล์ของระนาบ หากเป็นมาตรฐาน ISO จะใช้ “UZ” กำกับแทน Feature เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน การระบุของสัญลักษณ์ เกณฑ์ความคลาดเคลื่อน เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตแบบต่างๆ ตำแหน่ง และข้อกำหนดอื่นๆ การระบุ Datum ตำแหน่งของ Datum เป้าหมายของ Datum จุด เส้น หรือพื้นที่ที่ใช้กำหนด Datum มิติแท้จริงทางทฤษฎี (TED) มิติแท้จริงทางทฤษฎี (TED) พื้นที่ความคลาดเคลื่อนร่วม “CZ” หมายถึงพื้นที่ร่วม สัญลักษณ์นี้จะระบุเพื่อให้ถือว่า Feature หลาย Feature ที่แยกกันนั้นเป็นพื้นที่ความคลาดเคลื่อนเดียวกัน เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของโปรไฟล์ (เส้นรอบรูป) หมายถึงการใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตกับเส้นรอบรูปของ Feature ที่ระบุโดยใช้ลูกศร เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของโปรไฟล์ (ทั้งหมด) หมายถึงการใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของรูปทรงเรขาคณิตกับ Feature ทั้งหมดที่ระบุโดยใช้ลูกศร เป้าหมายของ Datum ที่เคลื่อนที่ได้ (มีใน ASME เท่านั้น ส่วน ISO กำลังจะมีในอนาคต) เป้าหมายของ Datum ที่กำหนดและชิ้นงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถเคลื่อนที่ได้ ตัวอย่างเช่น แม้จะมีการติดชิ้นส่วนเข้ากับชิ้นงานหรือการเปลี่ยนรูปร่างของชิ้นงาน แต่เป้าหมายของ Datum และตัว Datum เองก็ยังสามารถเคลื่อนที่ได้ Spot facing (เฉพาะ ASME) การเกลาผิวที่จะคว้านรูที่มีแกนกลางร่วมกันอีกรูหนึ่งให้ใหญ่ขึ้น เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางสถิติ (เฉพาะ ASME) ข้อมูลจำเพาะที่จะกำหนดเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนให้กับชิ้นส่วนที่ประกอบกันแล้วโดยอิงจากสถิติ เมื่อใช้เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนทางสถิติ เกณฑ์ความคลาดเคลื่อนของส่วนประกอบแต่ละชิ้นอาจเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะลดช่องห่างระหว่างส่วนประกอบและชิ้นส่วนที่นำมาประกอบกัน ถึงแม้ว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและ/หรือลดต้นทุนการผลิตได้ แต่การใช้งานเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนนี้ก็ยังต้องอาศัยกระบวนการจัดการทางสถิติที่เหมาะสมก่อน Feature ต่อเนื่อง (เฉพาะ ASME) “CF” หมายถึง “Feature ต่อเนื่อง” ข้อกำหนดนี้จะระบุเมื่อต้องปฏิบัติกับ Feature ทั้งหลายให้เป็น Feature เดี่ยวทางเรขาคณิต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
Welcome.