ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
ปัญหา ความไม่เข้าใจ และเกรงใจ + ความไม่เอาใจใส่ ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน

หลายๆท่าน คงเคยใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการออกแบบ  ซึ่งมันจะแย่เอามากๆหากคุณเขียนแบบหรือออกแบบไปแล้วอยู่ๆไฟฟ้าเกิดดับ   ไม่ใช่แค่คุณจะเสียความรู้สึกอย่างเดียว แต่อุปกรณืภายในของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะเสียหายด้วย

อย่างแรกเลยคือ Hdd เพราะ หัวอ่านจะถูกลากกลับเข้าตำแหน่งเดิมแบบทันที ดับบ่อยๆ อาจจะได้ยินเสียง แกร๊กๆ แปลว่าคุณต้องเตรียมทำบางอย่างกับข้อมูลของคุณทันที จะแบบไหนก็ตามแต่ความสามารถของแต่ละท่าน

อย่างที่สองคืออุปกรณ์ที่มีความไวสูง  คอมพิวเตอร์ของบางท่าน มันไม่ใช่แค่ที่ทำงาน แต่มันคือทั้งหมดของความสุข หลายคนพยายามสะสมอุปกรณ์ หาความรู้ ตกแต่งอุปกรณ์ข้างในเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ในการดูหนัง ฟังเพลง ไม่ว่าจะเป้นตัวซีเกรดเครื่องเสียงที่มีราคาแพงมากๆอย่าง เอลน่า เซราไฟน์ สีทอง หรือ ออปอแมป์ เบอร์บราวด์ ที่ราคาสูงมากๆ อุปกรณ์พวกนี้ ต้องมีการจ่ายไฟที่ดีเอามากๆ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว คือ พังแน่ๆแบบไม่ต้องสงสัย

 แล้วมันเกี่ยวอะไรกับระบบไฟ???     พวก Computer Notebook จะมีข้อได้เปรียบมากกว่าแบบ PC หากเปรียบเทียบกันเรื่องระบบไฟ เพราะ หากคุณไปเสียบ Adaptor ที่ใช้งานปลั๊กเดียวกับเครื่องเชื่อมหรือเครื่องเจียไฟฟ้า คุณก็แค่ถอดปลั๊กออกแล้วใช้ไฟบน Battery ที่ไม่ต้องมีวงจรซับซ้อนอะไรเลย

แต่กลับกันกับ PC เพราะ Power Supply บางชนิดเป็นแบบ Active PFC แต่ผู้ซื้อ UPS ไม่มีความรู้ จึงซื้อแบบถูกๆมาใช้ ปัญหามันเลยบังเกิด  เพราะ UPS แบบถูกๆ สัญญาณไฟที่ออก มันไม่ได้ออกมาเป็น Pure sine wave  จึงไม่แปลกที่ Power Supply หรืออุปกรณ์อื่นๆจะพัง  

นี่แค่ปัญหาแรกๆที่ผู้ใช้งานไม่มีความรู้เลย เพราะหลงคิดทึกทักเอาเองว่า ก็กรูซื้อ UPS แล้ว ทำไมมันยังพัง ???   ทั้งๆที่ มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกันเลยในทางปฏิบัติ.

 หลายคนยังยึดติดและคิดเอาเองว่าการซื้อ Power Supply ต้องดูที่จำนวน Watt หรือ ต้องการกำลังไฟเท่าไหร่  ซึ่งอาจจะไม่ผิดสำหรับบางคนที่เป็น Normal User แต่สำหรับ Extreme User นั้น มันคนละเรื่อง

การ์ดจอออกแบบตัวละแสน หากคุณประเคนไฟด้วย PSUติดเคส ตัวละ 350 บาท คุณลองนึกเอาเองว่าจะเกิดอะไรขึ้น  

เพราะฉะนั้น การให้ความสำคัญและตั้งใจเก็บรายละเอียดในอุปกรร์เครื่องใช้น่าจะเป็นสิ่งจำเป็นที่ทางฝ่ายจัดซื้อกับผู้ร้องขอต้องมีความเห็นร่วมกันคือ ยึดถือผลประโยชน์องค์กรณืเป็นที่ตั้ง ไม่ใช่มัวแต่ห่วงเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาท เพราะมูลค่าของข้อมูลหรือเวลา ที่ต้องหายไปหากเกิดปัญหา มันจะทำให้เกิดการแตกหักได้ในภายหลัง

ปัญหาของคนไทยคือการอ่าน เพราะคนไทยไม่ชอบอ่าน คนไทยจะชอบดูและฟัง  ที่มีปัญหาคือฟังตามๆกันมา ไม่ค้นคว้าเอง จึงเกิดปัญหาอย่างมาก

นี่คือไฟที่ออกมาจาก UPS แบบ Pure sine

นี่คือไฟที่ออกจาก UPS แบบ True sine

นี่คือไฟที่ออกจาก UPS แบบ Modify sine
นี่คือไฟที่ออกจาก UPS แบบ กูก็ UPS



ท่านผู้อ่านลองเปรียบเทียบกันเอาเองแล้วกันว่า ท่านจะเลือกแบบไหน ถ้าท่านมีการ์จอออกแบบตัวละ 50000 ประกอบอยู่ภายในเครื่อง + ข้อมูลงานใน Harddisk ที่มูลค่าสูงมาก




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...