ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก
แอบมาเขียนก่อนนอน

   First Review SolidWorks 2017 SP0.

   น่าจะเป็นรีวิวแรกๆละมั้งครับ  เผอิญว่าได้รับเกียร์ระติ ( คือตามตูดเพื่อนที่เป็นลูกค้า ไปงานเปิดตัว SOLIDWORKS 2017 ) ก็เลยมีสิทธิ์ใช้งานแบบถูกต้องตามกฏหมา ย บ้า นเมือง ดูๆ What's new ก็ไม่สะใจเท่าเล่นเอง  ขอเอาแบบที่ใช้งานคุ้นๆก็แล้วกันนะครับ

  เปิดโปรแกรมมาก็เป็นแบบที่เห็นนั่นหละครับ เพราะผมชอบโทนดำๆ มันสบายตาหาที่สุดมิได้ ยิ่งได้จอมอนิเตอร์ LCD รุ่นเก่าๆของ EZIO ด้วยละก็ นั่งทำงานได้ทั้งวันเลยก็ว่าได้ครับ  แต่ถ้าโทนขาวๆจะแสบตามากๆ ยิ่งจอความละเอียดสูงๆกว้างๆนี่ไม่ต้องพูดถึงเลยครัช

  โดยส่วนตัวแล้วชอบตรงนี้มากๆนะ เหมือน Inventor ดี
เป็นระบบการค้นหาบนคลาวด์ แหม่ มันช่างชื่นใจเสียจริงๆแม่คุณเห็นสวรรค์ไรไรแน่ะ !!!   คอโหลดโมเดลไม่ต้องวิ่งเปิด ผมเกิ้ลกันอีกแล้ว

อันนี้ที่ขัดใจวัยรุ่นมากๆ

ลองเปิดควายที่ทำด้วย V2016 แล้ว เซฟแบบไม่ปรับแต่งอิหยังเลย ควายตัวอ้วนขึ้นนะ !!

ลองเปิดงานจริงทดสอบแมลงของ 2016 ที่ทางวิศวกรใหญ่ของบริษัทในแดนดินอเมริโก เวฟ ฟุชชี่  ออกมาประกาศในบอร์ดหลักว่า มีปัญหา
ปรากฎว่า ยังไม่ได้แก้มาใน 2017 SP0 ซึ่งตอนนั้นแกก็บอกแล้วว่าพบปัญหา แต่ไม่รู้ว่ามช้เวลานานเท่าไหร่ในการแก้ อ่ะ ก็ไม่ว่ากันล่ะนะฮับ  

ลองหมุนเข้าหมุนออกหมุนออกหมุนเข้า !!! เออ ลื่นแฮะ หรือนึกไปเอง เออวะ ลื่นก็ลื่น 

เส้นรู้สึกว่าจะปรับเองได้ด้วย แปลกๆดี ลองเล่นกันนะครับ




รุ่นนี้เหมาะกับ Hardware รุ่นใหม่ๆมากๆครับ ที่สำคัญเลยคือการ์ดจอ ถ้าได้ Chipset Nvidia Fermi ขึ้นไป หรือ AMD Tahiti ขึ้นไป นี่คือดีงามพระรามแป้ดดด เลยครับ



 การบริโภคทรัพยากรก็เป็นเรื่องปกติครับ เดี๋ยวนี้ Hardware ราคาถูกลงหากเทียบกับความสามารถที่ได้ 
แต่ที่แปลกอยู่เหมือน 2016 คือ เมื่อ Part หรือ Assy ชิ้นใหน รีบิวด์นาน หากเราไปเผลอกดปุ่มบนหน้าต่างที่กำลังทำงาน ปริมาณแรมจะถูกปล่อยออกมาจนเกลี้ยงจากนั้นก็เริ่มสะสมใหม่ แต่โปรแกรมไม่ค้างครับ มันยังคงทำงาน แต่ช้ามากที่สุดครับ อาจจะเซ็ง



วันนี้ ขอตัว พักผ่อน นอนหลับครับ ราซีสวาท !!



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...