ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ว่าด้วยน้ำมันเครื่องของมอเตอร์ไซค์

API คือสถาบันปิโตรเลียมแห่งอเมริกา ถ้ามองไปมองมาก็คล้ายๆการปิโตรเลียมแห่งไท  แต่ไฉน ข้างกระป๋องน้ำมันดันไม่เขียน PTT แต่ดันเขียน API

น้ำมันเครื่อง เป็นสิ่งจำเป็นมากๆ สำหรับชิ้นส่วนที่มีการเคลื่อนที่ ภาษากรุงเทพเขาเรียกกันว่า น้ำมันหล่อลื่น มีให้เห็นกันโดยทั่วไป แต่ผมเป็นคนจน ขับมอเตอร์ไซค์ เลยขอเล่าเรื่องเกี่ยวกับน้ำมันเครื่องของมอเตอร์ไซค์ก็พอ

น้ำมันเครื่อง มีมากมายหลากหลายยี่ห้อ ยี่ห้อน้ำมันเครื่องมีมากพอๆกับผู้ประกอบอาชีพขายส้มตำ ที่ทางการอ้างว่าเป็นอาหารไทโบราณ โดยที่มาของมะละกอมาจากแอฟฟริกาใต้ โดยคริสโตเฟอร์โคลัมบัส นำมาปลูกที่เมืองมะละกา คนไทยเลยเรียกมะละกอ ฉะนั้น ส้มตำ จึงเป็นอาหารไทตามกระทรวงการศึกษาแห่งไท


ภาพจากท่านคิม
เหล่ายี่ห้อน้ำมันเครื่องเหล่านี้และที่ไม่ได้อยู่ในรูปนี้อีกมาก ต่างก็ได้ใช้ทุนมาโพนทะนาข้อดีต่างๆมากมายมหาศาล เพื่อแลกกับเงินของเราอย่างไม่หยุดหย่อน

   ในฐานะยากจน จึงขอกล่าวว่า ให้ท่าน อ่านฉลาก ก่อนซื้อน้ำมันเครื่องทุกครั้ง  เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้นในการซื้อสินค้า ดังที่ ยืนยง โอภากุล ได้กล่าวไว้ข้างขวด คาราบาวแดง ว่า อ่านฉลากก่อนซื้อทุกครั้ง

อ่านแล้ว ให้เก็บรายละเอียด ดังนี้
   1.  ค่าความหนืด    ค่าความหนืดนี้คืออะไร  มันก็คือความขี้เกียจในการไหล ค่าตัวนี้ มันจะแปรผันตามอุณหภูมิ  ถ้าวันไหนร้อนๆเราจะรีบตื่นมาอาบน้ำ วันไหนหนาวๆเราจะขี้เกียจลุก น้ำมันเครื่องก็เช่นกัน 

  ชุดของตัวเลขจะมี 2 ชุด เช่น 5W-30 , 10W-40  เป็นต้น 
    ค่า W คืออะไร
    น้ำมันเครื่องในเขตเมืองหนาว จะมีการวัดต่างออกไปอีกแบบ คือการวัดความต้านทานการเป็นไข โดยวัดตั้งแต่อุณหภูมิต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียส ต่ำลงมาจนถึงจุดเยือกแข็งตั่งแต่ 0 องศา จนถึงต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยมีตัวอักษรระบุไว้เป็นตัวอักษร W หรือ WINTER เช่น
    0W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
    5W = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
    10W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
    15W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
    20W= สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

  2. ค่า Standard API SX  โดยที่ X คือตัวอักษรหมวดหมู่ของการพัฒนา  โดยมีรายละเอียดอีกมากมาย ซึ่งปัจจุบัน ได้พัฒนามาถึง SN แสดงว่า SN เป็นมาตรฐานสูงสุดของน้ำมันเครื่อง ซึ่งสามารถรองรับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลงได้ถึง E85 และประกาศให้ใช้ในเดือนตุลา ปี 2010 นี่เอง 

  3. ค่าอื่นๆที่บ่งบอกลักษณะเฉพาะของน้ำมัน เช่น JASO MA , MB  เป็นต้น ซึ่ง MA สามารถใช้ได้กับเครื่องยนต์ที่แผ่นคลัชท์แช่ในน้ำมันเครื่อง  ส่วน MB จะใช้สำหรับรถไม่มีคลัชท์ 

  4. Oil Group ที่นำมาผลิตน้ำมันหล่อลื่น  ค่านี้เป็นชนิดของน้ำมันตั้งต้นก่อนจะแปรสภาพเป็นน้ำมันเครื่อง จะมีอยู่ทั้งสิ้น 5 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 ถึง กลุ่ม 5  ( ง่าย )
 กลุ่ม 1 คือ น้ำมันแร่ธรรมชาติ 100% 
 กลุ่ม 2 คือ น้ำมันกึ่งสังเคราะห์ โดยผสมสารสังเคราะห์ไม่เกิน 15%
 กลุ่มที่ 3 คือน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ ข้างกระป๋องจะเขียนว่า Synthetic แต่จริงๆมันยังเหลือน้ำมันกลุ่มที่ 1 หลงเหลืออยู่10-15% จึงทำให้มีการฟ้องร้องกันเกิดขึ้น โดยน้ำมันเครื่องกลุ่มที่ 4 มาฟ้องร้องน้ำมันเครื่องกลุ่มที่ 3 ศาลเลยตัดสินให้ น้ำมันกลุ่มที่ 3 สามารถใช้คำว่า Synthetic ได้ 
กลุ่มที่ 4  คือน้ำมันเครื่องสังเคราะห์ 100% Fully Synthetic ที่สังเคราะห์ขึ้นมาทั้งหมด ไม่มีส่วนผสมของน้ำมันแร่อยู่เลย เรียกว่า โพลีอัลฟาโอเลฟิน 
กลุ่ม 5 คือ เป็นน้ำมันเครื่องสังเคราะห์คุณสมบัติพิเศษ เช่น เอสเทอร์เบส พวกนี้จะต่อต้านการเปลี่ยนสภาพของตัวเองได้ดี สามารถทนความร้อนได้สูง 

ตัวแปรที่สำคัญอีกตัวคือ ราคา ซึ่ง ผู้ใช้งาน ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ที่ใช้ 
  





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...