ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

กลโกงในวงการยางพารา

ยางพาราเป็นพืชพื้นเมืองของทวีปอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แต่ก็ได้แพร่หลายไปทั่วโลก และสามารถปลูกได้ในประเทศเทยของเราด้วย  เมื่อมีความต้องการใช้ยางก็ต้องมีความต้องการปลูกยางและขายยาง

 ชาวสวนยาง กรีดยาง ได้น้ำยางออกมา นำไปขาย ผู้รับซื้อจะรับซื้อด้วยกระบวนการโกงกินต่างๆ
วิธีการซื้อน้ำยาง จะใช้วิธีตักน้ำยางไปเข้าตู้อบไมโครเวฟแล้วรีดเป็นแผ่น เพื่อหาปริมาณยางในน้ำยางทั้งหมด เรียกว่า DRC หรือ Dry Rubber Content  วิธีการนี้โกงกินกันได้ง่ายมาก เพราะค่าต่างๆนั้น ล้วนขึ้นอยู่กับมือและจิตใจของผู้รับซื้อยาง ซึ่ง 99% ของพ่อค้ารับซื้อยางนั้น ไม่มีสวนยางแม้แต่ไร่เดียว แต่มีบ้านหลังใหญ่กว่าชาวสวนยางทุกราย
   วิธีการต่อมาคือวิธีวัดความถ่วงจำเพาะ โดยใช้หลอดแก้ว วิธีการนี้สามารถโกงกินได้ด้วยวิธีการทางการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  คือ นำหลอดแก้วไปแช่น้ำแข็ง
   เพื่อนผมพยายามคิดค้นเครื่องวัด % น้ำยาง แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในบางมิติ แต่หวังว่าอีกไม่นาน คงได้เป็นเรื่องเป็นราว
  วิธีการต่อมาคือวิธีการโกงตาชั่ง โดยการเปลี่ยนค่าความต้านทานสปริง วิธีการนี้แพร่หลายมากในประเทศเทยของเรา

 
 ส่วนยางแผ่นนั้นวิธรการโกงคือการโกงตาชั่ง

ในส่วนขี้ยางหรือยางก้นถ้วย สามารถโกงได้ 2 วิธี คือ โกงตาชั่ง และหักน้ำ คือ ผู้รับซื้อจะใช้สายตาอันแหลมคม มาตรวจว่า ในก้อนยาง มีน้ำอยู่เท่าไหร่ และใช้วิธีการชั่งจากนั้นหักน้ำออก เช่น 100 กิโล หักน้ำออกไป 80 กิโล เป็นต้น

 ซึ่ง ยางแผ่น และ ยางก้อนถ้วย หรือ ขี้ยางนั้น จะนำไปแปรรูปเป็นยางอักแท่ง STR 20 ทั้งสิ้น

ส่วน เครพ เป็นวิธีการแปรรูปยางอีกแบบหนึ่ง ที่นำยางมารีดเป็นแผ่นลายบางเพื่อไล่น้ำออกจากยาง ซึ่งเครพนี้ก็นำไปผลิตเป็นยางอักแท่งด้วยเช่นกัน แต่เครพจะมีความสะอาดและพร้อมแปรรูปมากที่สุด

ในจังหวัดเมืองคนดีนั้น มีบริษัทอยู่เจ้าเดียวที่รับซื้อยางเครพ ซึ่ง % ยางเครพที่บริษัทเจ้าเดียวที่มีให้มานั้น จะได้สูงสุดแค่ 72.5% หมายความว่า ยางเครพที่บรรทุกมาขายนั้น  จะมีน้ำหนักยาง DRC อยู่ 72.5% ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ที่ยางที่ถูกรีดมาจนบางจะมีเปอร์เซ็นต์ของ DRC เพียงแค่นี้

การตรวจสอบความถูกต้อง เป็นไปได้ลำบาก เพราะ หากผู้ขายไม่ยอมรับผลของ % จะต้องขอดูผล LAB ซึ่ง 100 % ของ LAB นั้น มาด้วยการมั่วตัวเลข และ เจ้าของยางจะสามารถดูผล % ของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถดูผล % ยางของเจ้าอื่นที่นำมาขายได้ เช่น หาก % ยางของเรา ได้ที่ 72.5 ก็จะสูงสุดได้แค่ 72.5 โดยบางครั้งผู้ผลิตเจ้าอื่นจะได้มากถึง 74 - 75% ก็มี หมายความว่า หากนำเงินมาใส่ซองให้กับผู้ประเมิน % ที่วันนำมาขาย ก็จะได้ % ที่สูงมาก ซึ่งบริษัทแห่งนี้ รับเงินกันตั้งแต่ผู้จัดการ ลงมาถึงตัวเล็กๆ คือรับกันหมด ไครไม่รับ หรือเปลี่ยนระบบก็จะอยู่ไม่ได้ แต่ความลำบาก กลับมาตกอยู่ที่ชาวสวนยางเอง

การบันทึกผล Lab นั้น ใช้ปากกาสีเดียวกัน เขียน Font เดียวกัน เสมือนว่าเขียนในเวลาเดียวกันทั้งหมด ซึ่ง มั่นใจว่าเป็นข้อมูลที่เมคขึ้นมาเพื่อตบตาชาวสวนทั้งสิ้น

ขั้นตอนในการขายยางเครพที่บริษัทแห่งนี้นั้น เป็นไปโดยลำดับขั้น คือ
1. รถบรรทุก นำขึ้นตาชั่งแบบโหลดเซลล์ เพื่อหาน้ำหนักทั้งหมด
2. นำยางไปเท จากนั้น คนวัด% จะเดินมาดูและใช้มือล้วงไปในรูยางต่างๆ เพื่อหา % น้ำยาง
3.นำรถมาชั่ง เพื่อหาน้ำหนักยาง
4. รอฟังผล % น้ำยาง ภายในไม่เกิน 5 นาที ซึ่งจริงๆแล้ว การหา % DRC นั้น ต้องใช้เวลาค่อนข้างนาน เพราะต้องนำไปรีดให้บางและอบ
5.ฝ่ายการเงินจะโอนเงินเข้าบัญชี

เป็นอันเสร็จพิธีการนำยางมาขาย  ซึ่ง ชาวสวนไม่มีสิทธิ์ทราบเลยว่า ยางของตัวเอง แท้จริงแล้ว มี % เท่าไหร่

วีดีโอแสดงการวัด % น้ำยางโดยใช้มือล้วงของ บ.แห่งหนึ่ง ใน จ.สุเทพธานี 




ในส่วนของความช่วยเหลือในด้านความรู้ หรือการบริการจากทางสำนักการยางพาราแห่งเทยนั้นก็ไม่มีไม่ทั่วถึง ซึ่งเข้าใจดีว่าทางบุคลากรนั้นมีความยุ่งงาน ไม่มีเวลามาบริการชาวสวน  ชาวสวนจึงต้องอยู่กันไปแบบชนชั้นล่างต่อ





 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...