ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องของปาล์ม ในสยามประเทศ ในมุมมองของวิศวกรต๊อกต๋อย

ปาล์ม กับ ความสำคัญของปาล์ม      
       สวัสดีท่านผู้อ่านที่ติดตามทุกท่าน ( รวมถึงที่ไม่ติดตามด้วย ) วันนี้ขอเล่าเรื่องลึกๆสักหน่อยครับ เป็นเรื่องของพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศเรา นั่นก็คือ ปาล์ม ( Palm ) ครับ   ( ท่านที่ไม่อยากรู้หรือรู้มากครบถ้วนแล้วก็ปิดหน้านี้ไปเลยไม่ต้องอ่านครับ )
      ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณท่าน พระยาประดิภัทธ์ภูบาล ที่ได้นำ มะพร้าวหัวลิง หรือ ปาล์ม มาปลูกเป็นครั้งแรกในสยาม ที่จังหวัดสตูล ในปี 2471 โดยนำมาจากชวา คนปัตตานีเรียกปาล์มว่า หมากมัน
     
      เมื่อไม่กี่วันมานี้ ได้มีโอกาสไปซื้อวัตถุดิบสำหรับชงชากับภรรยาที่ร้านจำหน่ายวัตถุดิบแห่งหนึ่ง และได้อ่านฉลากของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ครีมเทียมข้นหวาน หรือพวกครีมต่างๆ หนึ่งในส่วนผสมหลักที่น่าสังเกตก็คือ น้ำมันปาล์ม เรียกได้ว่าแทบทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันของคนประเทศนี้นั้น มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มอยู่แทบทั้งสิ้น เช่น สบู่ ครีมเทียม ขนม ไก่ทอด แม้แต่น้ำมันบางชนิดที่ใช้เติมยวดยานพาหนะ
     ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปี 59/60 พบว่า ความต้องการต่อเดือนอยู่ที่ 160,000 ตัน
     ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนครับว่า น้ำมันปาล์มนั้นมาจากไหน  น้ำมันปาล์มที่ว่านี้มาจากทะลายปาล์มซึ่งออกมาจากต้นปาล์ม
 ในทะลายปาล์มสด 1 ทะลายนั้น จะมีส่วนประกอบดังนี้
1.สิ่งสกปรก 1%
2.ผลปาล์ม 72.39%
3.ทะลายเปล่า 26.61% ( ก้าน 10% , แขนง 16.61% )

ในผลปาล์ม 72.39% จะประกอบด้วย
2.1 น้ำมัน 22%
2.2 น้ำ 26%
2.3 เส้นใย 11%
2.4 กลีบขั้วผล 1.39%
2.5 เมล็ด 12%  ( กะลา 6.5% , เมล็ดใน 5.5% )

ในเมล็ดใน 5.5% ประกอบด้วย กาก 3% และ น้ำมัน 2.5%


    เมื่อชาวสวน ตัดทะลายปาล์มมาขาย ณ จุดรับซื้อในท้องถิ่นที่เรียกกันทั่วไปว่า "ลานเท" ทางผู้รับซื้อจะมีเครื่องชั่งแบบชั่งน้ำหนักทั้งรถ เป็นเครื่องชั่งติดโหลดเซลล์ ปรับค่าได้ตามความต้องการจะปรับค่า หากเจ้าของลานเทใจร้ายหน่อยก็จะปรับไว้ที่สเกล 5 ก.ก. หากใจร้ายมากหน่อยก็ 10 ก.ก. ไม่มีเจ้าของลานเทคนไหนใจดีตั้งสเกลตาชั่งที่ 1 ก.ก.อย่างแน่แท้ โดยมากจะอ้างว่า ชั่งมันมาแบบนี้ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือ มีเอกสารและลายเซ็นจากไหนก็ไม่รู้ที่เป็นคนตรวจสอบตาชั่งและถูกต้องตามกฎหมายไทยแลนด์แดนหฤหรรม

     เจ้าของลานเท จะมีวิธีต่างๆในการเพิ่มน้ำหนักให้กับปาล์มที่รับซื้อ ก่อนที่จะนำมาขายที่โรงงานผลิตน้ำมันปาล์มดิบ เช่น ฉีดน้ำเพื่อให้ทะลายปาล์มเป็นตัวเก็บน้ำไว้ หรือเติมหินก่อสร้าง หรือเติมทราย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก จนหลังๆมาต้องมีเครื่องแยกหินออกจากกระบวนการผลิต จนไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นโรงสกัดน้ำมันปาล์มหรือโรงโม่หินกันแน่ เพราะปริมาณหินที่ผู้เขียนเข้าเยี่ยมชมแต่ละครั้งนั้นมากเหลือเกินจนสามารถนำหินไปขายได้จริงๆ

     กลไกการรับซื้อ
     ทางโรงงานสกัดจะแต่งตั้งผู้เชียวชาญมาหนึ่งหรือสองหรือสามคนมาเป็นผู้ตีปริมาณน้ำมันในรถคันนั้นๆ เช่น รถคันนี้บรรทุกทะลายปาล์มมา 10 ตัน ( 10,000 ก.ก. ) และผู้ประเมินได้ประเมินว่า 17% ปาล์มในรถคันนั้นก็จะได้ราคารับซื้อในปริมาณน้ำมัน 17% ซึ่งโดยส่วนใหญ่ จะตั้งราคาสูงสุดไว้ที่ 22% จากนั้นราคาก็จะลดหลั่นกันมาเรื่อยๆ
      ถึงตอนนี้นั้น เราพอจะเดาออกว่า หากต้องการน้ำมันปาล์ม 1 กิโล ต้องใช้ผลปาล์มสดเท่าไหร่
จากข้อมูลข้างต้น ลองคำนวณน้ำมันปาล์มที่ได้จากปริมาณปาล์ม 10 ตันดังกล่าว ดังนี้
--ทะลายปาล์มสด 10,000 ก.ก. จะได้ผลปาล์ม 7,239 ก.ก.
--ในผลปาล์ม 7,239 ก.ก. ให้น้ำมัน 22% = 7,239 x ( 22/100 ) = 1592.58 ก.ก. ( หาก 17% ก็จะได้ต่ำกว่านี้ )
    ราคาที่โรงงานรับซื้อไปจากลานเทหรือชาวสวน จะเป็นราคาน้ำมันในเยื่อปาล์ม มิได้รวมราคาน้ำมันเมล็ดในปาล์ม ( อันนี้เป็นกำไรตรงๆของผู้สกัด หรือผู้ขายเมล็ดในไบบีบน้ำมันอีกทีหนึ่งซึ่งเป็นน้ำมันคุณภาพสูงกว่าน้ำมันจากเยื่อปาล์ม )

     หากคิดแบบโง่ๆอย่างผู้เขียน จะได้ว่า น้ำมันปาล์ม 1 ก.ก. ต้องใช้ปาล์มสด = 100/17 = 5.88  ก.ก.
หากรับซื้อที่ ก.ก.ละ 4 บาท จะมีต้นทุนน้ำมันส่วนหนึ่ง ( ยังไม่รวมค่าดำเนินการสกัด ) อยู่ที่ 5.88 x 4 = 23.5 บาท 
     ลองสมมุติค่าสกัด/กลั่น ไว้ที่  1 บาท ค่าขนส่ง 1 บาท ค่าบรรจุภัณฑ์ 1 บาท ค่าโฆษณา 1 บาท กำไร 30% = (23.5+4)*0.3 = 35.75 บาท

     พอจะเข้าใจไหมครับว่า เกษตรกรจะช่วยเหลือตัวเองอย่างไรได้บ้างหากปลูกปาล์ม

เมื่อทางโรงสกัด นำปาล์มผ่านกระบวนการสกัด จนได้น้ำมันปาล์มดิบ ก็จะมีการเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ เพื่อรอจำหน่ายให้กับโรงกลั่นน้ำมันปาล์มเพื่อเปลี่ยนสภาพน้ำมันจากน้ำมันปาล์มดิบ ( Crude Palm Oil , CPO ) ให้เป็นน้ำมันปาล์มโอเลอีน เพื่อมาจำหน่ายกลับคืนเอาเงินจากกระเป๋าเกษตรกร วนเวียนอยู่อย่างนี้เรื่อยไปอย่างหาที่สุดมิได้

     ต้นปาล์มมีอายุประมาณ 20-30 ปี เมื่ออายุมากต้นจะสูงทำให้การเก็บเกี่ยวผลผลิตมีความยากลำบาก
จึงจำเป็นต้องใช้สารพิษบางตัวเช่น ไกลโฟเซต มาฉีดเข้าลำต้นเพื่อ ฆ่า ต้นปาล์มให้ตายและปลูกทดแทน  สารไกลโฟเซตนี้ มีอายุมาก ( ผมก็ไม่รู้ว่าเท่าไหร่รู้แต่ว่าชอบกินไก่ทอด ) ท่านผู้อ่านคิดว่าปาล์มต้นใหม่ที่ปลูกทดแทนปนเปื้อสารตกค้างไปหรือเปล่าและมีผลกับสุขภาพผู้บริโภคหรือไม่
     ท่านผู้อ่านสามารถลองหาข้อมูล Fact จากแหล่งต่างๆเพื่อตรวจสอบคุณค่าของน้ำมันพืชชนิดต่างๆ สำหรับเลือกบริโภคได้ด้วยตนเอง 


   หลายๆประเทศโดยเฉพาะในแถบยุโรปมีการรณรงค์อยู่เนืองๆเรื่องการทำสวนปาล์มโดยเฉพาะการสุญพันธุ์ของสัตว์ป่า และปริมาณสารพิษ
  แต่ก็ยังเป็นประเด็นถกเถียงไม่จบสิ้น ว่าจริงๆทาง EU หรือพวกที่โจมตีปาล์มนั้นมีจุดประสงค์อื่น
ในประเทศเรานั้นผมไม่แน่ใจว่าองค์ความรู้ด้านปาล์มจะก้าวไกลแค่ไหนเพราะไม่ได้ลงไปศึกษาอย่างลึกซึ้ง ได้แต่ศึกษาค่าทางกายภาพเพื่อมาออกแบบเครื่องจักรที่ใช้กับโรงงานปาล์มเท่านั้น
   หวังว่า ชาติที่เราทุกคนอาศัยอยู่จะเจริญขึ้นสักวัน
 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...