ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ราคาน้ำมัน - ราคายางพารา - ราคาเนื้อหมู - ของชาติไทยแลนด์

     สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่รัก ไม่กี่วันมานี้มีการสร้างกระแสกันในโลกโซเชียล ว่าต้องไปอุจจาระในปั๊ม ปตท.เท่านั้นถึงจะถูกต้องและคุ้มค่า ผมจึงอยากนำข้อมูลและวิธีการหาข้อมูลมาฝากผู้อ่านกันสักหน่อยครับ
      ราคาน้ำมัน ที่บางท่านนำมาเปรียบเทียบกับพม่าบ้าง มาเลเซียบ้าง และได้รับยอดการกดไลค์ถูกใจเป็นอันมากนั้น ผมอยากทุเรียนให้ทราบว่า ท่านสามารถเข้าไปดูโครงสร้างราคาได้ทุกวัน โดยคลิกเบาๆไปที่ http://www.eppo.go.th/index.php/th/petroleum/price/oil-price?category_id=558&isc=0&orders[publishUp]=publishUp&issearch=1

โดยสามารถเลือกวันที่ย้อนหลังดูได้ไปจนถึงปี 2545 โน่นเลย อยากรู้ว่ารัฐบาลไหน ราคาน้ำมันเท่าไหร่ ก็ลองเปรียบเทียบกันดูเอาเอง

    สำหรับวันเวลาดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนเอกแต่ละคนก็สามารถดูได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
 
     ช่องแรกจะเป็นราคาหน้าโรงกลั่น ช่องสองและสามเป็นภาษี ช่องสี่และห้าเป็นกองทุนน้ำมัน ช่องต่อมาเป็นค่าการซื้อขายล่วงหน้าตามด้วยค่าการตลาดและตบท้ายผู้บริโภคเบาๆด้วยภาษี จึงออกมาเป็นราคาขายปลีกในช่องหลังสุด


   มีบางคนบอกว่า ปตท นั้นเป็นของทักษิณ ต้องให้ลุงตู่คนดีใช้ ม.44 ยึดคืน ผมขอนำเอาโครงสร้างผู้ถือหุ้น ปตท.มาให้ดูครับ



    จะพบว่า กระทรวงการคลังจะถือหุ้นใหญ่สุดที่ 51.11%  คงไม่ต้องบอกว่ากระทรวงการคลังคืออะไรนะครับ
    รองลงมาคือ ไทยเอ็นวีดีอาร์ อยู่ที่ 7.86%  ซึ่งลองหาข้อมูลดูพบว่า ไทยเอ็นวีดีอาร์นั้นมีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยถือหุ้น 99.99%   ( https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C )

    ที่เหลือก็สามารถไปค้นหาข้อมูลเอาเองได้ครับ  

ส่วนราคายางพาราย้อนหลังในชาติไทยก็สามารถดูได้จากที่นีครับ  http://www.rubber.co.th/rubber2012/menu5.php

   แถมราคายางประเทศมาเลย์ให้ด้วยครับ เผื่อท่านทั้งหลายจะได้นำมาเปรียบเทียบกับราคายางในชาติไทย   http://www3.lgm.gov.my/mre/

โดยให้ดูราคาที่ช่อง Farmgate Latex ( น้ำยางสด ) , Cuplump ( ยางก้อนถ้วยหรือขี้ยาง ) SMR20 ( ยางแผ่นดิบ )  โดยจะเป็นราคา เซ็นต์มาเลย์ต่อกิโล หรือ เซ็นต์ดอลลาร์ยูเอสต่อกิโล  ให้ท่านนำราคามาแปลงเป็นเงินบาทโดยการคูณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างค่าเงินก่อนนะครับ อย่าลืม  แล้วพวกท่านจะทราบผมแห่งการเปรียบเทียบและเข้าสู่ยุคข้อมูลข่าวสารและความจริงอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องไปเชื่อไครให้ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองอีก

   แถมปิดท้าย ราคาสินค้าเกษตร สามารถดูได้จากที่นี่  http://www.dit.go.th/pricelist/showannual_all.asp




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนม...