ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จับ Discrete Opamp งานไทย ใส่กับลำโพงเก่า X3 5.1 เพื่อยกระดับเสียง

  ลำโพงที่ขึ้นชื่อเรื่องเสียงกลางและเบสในงบ 4500 บาท ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา ย่อมมีชื่อของ Microlab X3 5.1 อยู่ด้วยแน่ๆ 

  ผมก็มีอยู่ชุดนึงเช่นกัน โดยได้ซื้อมาสมัยเรียนเมื่อ 15-16 ปีที่แล้ว โดยที่ลำโพงชุดนี้เป็นชุดที่ 2 ในบรรดาลำโพง 5.1 ที่ได้ใช้งาน ซึ่งชุดแรกนั้นเป็น Creative ตัวล่างสุดที่เป็น 5.1 โดยสมัยนั้นใช้คู่กับการ์ดเสียง 5.1 ราคาสองพันกว่าบาท (ซึ่งแพงมากโขอยู่เพราะยังเป็นนักศึกษา) 

  ลำโพงชุดนี้มีจุดเด่นคือเสียงกลางและเบส ส่วนอย่างอื่นไม่มีอะไรเด่นเลย พัฒนาการของการปรับแต่งของผมก็คือ ไล่เปลี่ยน Opamp จากเบอร์เดิม 4558 เป็น 5532, 637 และอีกสองสามเบอร์แต่ไม่ถูกใจแนวเสียง จนมาจบที่เบอร์ 2107 จนใช้มาตลอด 10 ปี โดยที่ไม่ทำอะไรเพิ่มเลย 

     จนเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ได้ยินเสียงซ่าๆและมีเสียงกึก ตอนเปิดใช้งานตามด้วยเสียงซ่าๆ สักพักหนึ่งหลังเปิดใช้งานจึงหายไป แต่พอเปิดใหม่ก็เป็นอีก จึงได้ทำการรื้อตรวจสอบดู

   พบว่า Capacitor บวมไป 1 ตัว จึงจัดการหาวงจรและไล่วงจร และถือโอกาสยกระดับเสียงซักหน่อยเพื่อทดลองอะไรใหม่ๆ

      เริ่มจากเปลี่ยน Cap filter 4 ตัวโดยเพิ่มขนาดเป็น 6800 uF โดยใช้ Wima 0.0047 uF ขนานด้านล่างทั้งคู่ เพื่อยิงเบสให้กระชับขึ้น  Capacitor ค่า 0.1 เปลี่ยนไปใช้ Wima เกือบทั้งหมด ส่วน Capa แบบ Electrolyte ไล่เปลี่ยนเป็นเกรด Audio โดยค่า 100 uF ใช้ยี่ห้อ Panasonic FM สีดำทอง ส่วนตัวเล็กๆ ใช้ Nichicon Fine gold. 

       วันนี้เลือกเปลี่ยน OPA2107 ที่ขับลำโพงคู่หน้าออกเพื่อเปลี่ยนไปใช้ Nawarat Discrete V6 Dual Opamp. ซึ่งเป็นของที่ราคาสูงที่สุดในการนี้ คือ 990 บาท

      หลังจากเปลี่ยนและทดลองเปิดใช้งานพบว่า แนวเสียงเปลี่ยนไปจาก OPA2107 มาก โดยมีรายละเอียดเครื่องดนตรีและเสียงร้องชัดเจน กลมกล่อม และกว้าง ใส มาก

      จากการที่สอบถามไปยังผู้พัฒนาพบว่า Discrete ตระกูลนี้เป็นของใหม่ ไม่เคยมี แต่อาศัยการพัฒนาต่อยอดมาจาก Discrete Opamp ตระกูล Earth Moon Sun อันโด่งดัง โดยที่หากเปรียบเทียบเสียงที่ได้กับ Opamp ตัวแพงอย่าง Burson Vivid ที่มีราคา4-5000 บาทต่อตัวแล้ว จะพบความคุ้มค่าของงานไทยชิ้นนี้อย่างไม่ต้องสงสัย.

      ในการนี้ผมได้ทำการขยายความสามารถของลำโพงในช่วงความถี่สูงด้วย เนื่องจากดอก Satellite ของ X3 เสียงทวีตเตอร์จะด้อยมาก ผมจึงได้นำลำโพงทวีตเตอร์มาขนานโดยใช้ Capacitor ขนาด 2.2 uF ตัดเอาเฉพาะเสียงแหลมให้ส่งไปยังดอกทวีตเตอร์และเปลี่ยนดอกลำโพง 1 คู่เป็นลำโพง 3 นิ้วของ Harman Kordon คู่ละ 850 บาท เพิ่มช่วงตอบสนองได้กว้างกว่าของเดิมข้างละ 1 ตัว 

     ผลที่ได้น่าพึงพอใจมาก เสียงใส สะอาด เบสคม ได้ยินเสียงลำดับเครื่องดนตรีที่ไม่เคยมีรายละเอียดมาก่อน (ไฟล์เพลงเดียวกัน) โดยผมใช้การ์ดเสียง X-Fi เป็นตัวขับซึ่ง X-Fi Xtreme Music รหัส SB0460 ของผมนั้นก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรมาก โดยสิ่งที่ปรับไปก็คือ Opamp ลำโพงคู่หน้าและเซ็นเตอร์ซึ่งเป็นเบอร์ OPA2107 ( แต่อีกไม่นานจะถูกโมดิฟายแทนที่ด้วย Nawarat Audio Dual Discrete Opamp V6 อย่างแน่นอนโดยคงต้องหาทางเพิ่มไฟให้ Discrete) ส่วนคู่หลังใช้เบอร์ 2132P และเปลี่ยน Capacitor ส่วนที่สำคัญๆกับ Opamp เป็นตระกูล Muse , Silimic II และ FM แทน และใช้ Driver จาก Hardware heaven ตัวเดิมที่เคยใช้บน Windows 10 X64. 



    ท้ายบทความนี้ขอแสดงความยินดีที่สินค้าไทยที่ไม่โด่งดัง ไม่เด่นดัง แต่กลับมีคุณภาพระดับที่เหลือเชื่อ หวังว่าคงจะมีผู้ใช้งานโปรดักท์นี้เพื่อยกระดับคุณภาพเสียงของลำโพงตลอดจนชุดเครื่องเสียงอื่นๆกันทั่วไปโดยเร็ว เนื่องจากสินค้าราคาไม่แพง เพราะผลิตในประเทศ อุดหนุนคนไทย ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ ครับผม.









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวมปุ่มลัด และคำสั่ง SolidWorks ในหมวดต่างๆ พร้อมไอคอนและชื่อคำสั่ง

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน โปรแกรม 3 มิติ ที่ได้รับความนิยมสูงมากในปัจจุบัน ที่ไม่ต้องบอกก็ทราบว่าคือโปรแกรมอะไร การฝึกฝนและจดจำคำสั่งสำหรับผู้เริ่มต้นจะเป็นอะไรที่ค่อนค่างยุ่งยาก จึงขอสรุปเป็นภาพและนำมาฝากทุกท่านครับ ขอให้ทุกท่านบรรลุผลในสิ่งที่มุ่งหวังทุกประการ ท่านสามารถพิมพ์เป็นเอกสารหรือบันทึกเก็บไปใช้ได้ตามความประสงค์ ขอบคุณที่มาของเอกสารด้วยครับ

ขนาดของเพลาและขนาดร่องลิ่ม

            หลายครั้งที่ผู้เขียนไปวัดแบบเครื่องจักรที่มีส่วนประกอบของเพลาและร่องลิ่ม จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องร่องลิ่มมาฝาก โดยในบทความนี้ไม่ขอลงลึกในส่วนการคำนวณ หรือสูตรต่างๆ แต่ขอยกวิธีการใช้งานมาเลย นั่นคือ เพลาขนาดเท่าไหร่ จึงจะใช้ร่องลิ่มขนาดที่สัมพันธ์กัน โดยอาศัยตารางที่แนบมานี้ หวังว่า พี่น้องชาววิศวกรออกแบบทุกท่าน คงจะออกแบบได้ง่ายขึ้น  หรือ ท่านผู้อ่านสามารถดาวน์โหลด App ไปใช้งานบนอุปกรณ์ Android กันได้ง่ายๆ เกี่ยวกับขนาดเพลาและร่องลิ่ม ราคาแอปพลิเคชั่นแค่ 13 บาท จากที่นี่  https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appybuilder.Anuwat_Kongpan.Shaft_and_Key   สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิศวกรรมได้ที่นี่ครับ

การออกแบบ Screw Conveyor

สกรูคอนเวย์เยอร์ คืออะไร? คาดว่าทุกท่านคงรู้จักกันดี เป็นเกลียวหมุนอยู่ในรางหรือในท่อทรงกลม เพื่อลำเลียงวัสดุบางอย่างตามที่ออกแบบคำนวณไว้ ส่วนประกอบต่างๆมีดังนี้ ประวัติของสกรูคอนเวย์เยอร์นี้ มียาวนานมาก สมัยอาร์คีมีดีส ผันน้ำตั้งแต่ก่อนเริ่มศาสนจักรไป 267 ปี เชียวนะ ( จริงๆ นะ )  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีเพลาและไม่มีเพลา ( Ribbon ) ขึ้นอยู่กับว่าเราออกแบบเพื่อลำเลียงอะไร ข้อได้เปรียบของสกรูคอนเวย์เยอร์คือ 1.สร้างง่าย 2.น้ำหนักเบา 3.ใช้พื้นที่น้อย 4.ต้นทุนการทำงานต่ำ 5.ลำเลียงวัสดุได้หลายหลาก 6.ลำเลียงได้ทุกองศาตั้งแต่แนวราบจนถึงแนวดิ่ง ความเลวของสกรูคอนเวย์เยอร์ ( 55 ) 1.มีการสึกหรอของรางที่เสียดสีกับวัสดุ 2.วัสดุที่ลำเลียงอาจถูกกระทบโดนใบสกรู 3.ความแข็งแรงขึ้นกับวัสดุที่ขนถ่าย อาจจะใชำกำลังไฟฟ้ามากในบางกรณี Parameter ต่างๆที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ 1.Screw Pitch คือระยะพิทช์ของใบสกรูนั่นเอง 2.RPM of screw คือ รอบการหมุนของใบสกรูลำเลียง 3.Inclination Factor ค่าแฟคเตอร์มุม หรือ ค่า C  4.Loading efficiency ค่านี้ดูได้จากวัสดุกัดกร่อนมากหรือน้อ